วัดพระธาตุดอยหินกิ่ว จังหวัดตาก

วัดพระธาตุดอยหินกิ่ว
วัดพระธาตุหินกิ่ว หรือดินกี่ หรือเจดีย์หินพระอินทร์แขวนซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับพระธาตุอินทร์แขวนประเทศพม่า ภายในวัดพระธาตุหินกิ่วนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอยู่มากมาย อาทิเรือโบราณอายถกว่า 200 ปียังมีพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์งดงามซึ่งอยู่ระหว่างทางเดินขึ้นไป

เจดีย์หินกิ่วเป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ นับเป็นสิ่งที่ปรากฎการณ์จากธรรมชาติและสิงศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากและ ใกล้เคียงหลั่งไหลมากราบไหว้เสมอ การขึ้นไปนมัสการพระธาตุ ต้องเดินขึ้นบันได 413 ขั้น พระธาตุดอยดินกี่เป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.5 ม. ประดิษฐานอยู่บนก้อนหินใหญ่ที่มีฐานเล็กมาก เรียกว่า "หินกิ่ว" องค์พระธาตุได้รับอิทธิพลจากพม่า เป็นสีทองมีฉัตรที่สวยงามวิจิตร รอบ ๆ มีปูนปั้นรูปสิงห์และเทวดา เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี จะมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุหินกิ่ว ชาวบ้านจะเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า "เจดีย์หินพระอินทร์แขวน" เดินขึ้นบันไดต่อไปอีก 283 ขั้น ก็จะถึง ถ้ำฆ้อง ถ้ำกลอง ชื่อถ้ำมาจากเมื่อโยนหินไปในถ้ำ หินกระทบผนัง คล้ายเสียงฆ้อง เสียงกลอง

วัดพระธาตุดอยหินกิ่ว (ดอยหินกิ่ว) ตั้งอยู่ท่บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก

วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก

วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก วัดพระบรมธาตุ ซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย ในช่วงวันขึ้น 14 และ 15 ค่ำเดือนเก้าของชาวภาคเหนือ ชาวอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตะเภา จะจัดงานบุญที่ยิ่งใหญ่ คือประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจัดขบวนแห่ผ้าห่มธาตุ ซึ่งประกอบด้วยขบวนกลองยาว ขบวนต้นเงินต้นทอง ขบวนตุงไชย ธงทิวและเครื่องพุทธบูชา จากบริเวณหนองเล่ม เคลื่อนผ่านสะพานบุญ ซึ่งเป็นสะพานไม้ยาวประมาณ 200 เมตรขึ้นไปทำพิธีห่มพระบรมธาตุ จากนั้นจะเป็นพิธีการบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี เจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างไว้ในคราวทำสงครามยุทธหัตถีชนะขุนสาม ชน เจ้าเมืองฉอดและพิธีชุมนุมเจ้า 108 องค์ จากทั่วทุกสารทิศ

การเดินทาง จากตัวเมืองตากไปตามทางหลวงหมายเลข 1107 ประมาณ 35 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสูทางหลวงหมายเลข 1175 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ หรือหากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ตรงกิโลเมตรที่ 442 เข้าอำเภอบ้านตากผ่านสะพานข้ามแม่น้ำปิ แล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่านา จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้าย 200 เมตร ถึงวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

สวนโมกขพลาราม มีความหมายว่า สวนป่าอันเป็นพลังแห่งการหลุดพ้น

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือสวนโมกข์กรุงเทพฯ อีกสถานที่ทางธรรมที่มีความร่มรื่นท่ามกลางธรรมชาติ ศูนย์เรียนรู้และสถานบริการด้านศาสนธรรม

นอกจากจะจัดสถานที่ให้พร้อมสำหรับการอยู่กับตนเองแล้ว ที่นี่ยังรวบรวมคำสอนของท่านพุทธทาสในรูปแบบต่างๆ ไว้อีกมากมาย

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
ถนนนิคมรถไฟสาย ๒ แขวงจตุจักร
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
แผนที่ “สวนโมกข์ กรุงเทพฯ”

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นพระบรมธาตุที่มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองทุ่งยั้ง ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง เพราะเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระธาตุนี้เป็นเจดีย์แบบลังกาหรือทรงกลม ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม 3 ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์เล็กๆ เป็นบริวารทั้งสี่มุม ฐาน ชั้นที่ 3 มีซุ้มคูหาทั้งสี่ด้าน สันนิษฐานว่าบูรณะขึ้นภายหลัง พระสถูปเจดีย์ดังกล่าว นี้แต่เดิมมียอดสูงสวยงามมาก แต่ได้หักลงเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2451 ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่

ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

คุณธรรม 8 ประการของพระโพธิสัตว์

จิตโพธิสัตว์ คือสงบเย็น เป็นประโยชน์ มีเมตตา ปัญญา กรุณา

คุณธรรม 8 ประการของพระโพธิสัตว์
  1. ไม่มีความถือตัวอวดดี
  2. ไม่มีความโง่เขลา
  3. ไม่มีความอาฆาตพยาบาททั้งปวง
  4. ไม่มีความอิจฉาริษยา
  5. ไม่มีความคิดเห็นที่ผิด
  6. ไม่มีความโลภ
  7. ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
  8. ไม่มีความยึดติด ความเคลือบแคลงทั้งปวง

พุทธทาสทำไม ทำไมพุทธทาส

พุทธทาส
  1. ท่านสอนให้รู้
  2. ท่านทำให้ดู
  3. ท่านอยู่ให้เห็น
  4. ท่านตายแบบคนตายเป็นให้ดู

การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์

การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เราทราบกันดีว่าคือ การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือเข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผากจดลงกับพื้น

ส่วนอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ อัษฎางคประณาม คือ การแสดงความเคารพด้วยวิธีนอนพังพาบเหยียดมือเหยียดเท้าออกไปเต็มเหยียด ให้อวัยวะแปดแห่ง คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้ง ๒ หน้าอก ๑ เข่าทั้ง ๒ และปลายเท้าทั้ง ๒ จดพื้น บางแห่งกล่าวว่า อัษฏางคประณาม คือ มือ ๒ หน้าอก ๑ หน้าผาก ๑ ตา ๒ คอ ๑ กลางหลัง ๑ รวมเป็น ๘ หรืออีกนัยหนึ่งว่า มือทั้ง ๒ หน้าอก ๑ หน้าผาก ๑ เข่า ๑ เท้า ๑ วาจา ๑ ใจ ๑ รวมเป็น ๘ ถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงที่สุด

วิธีการแสดงความเคารพดังกล่าวนี้นิยมใช้กันอยู่ในประเทศอินเดีย แม้ชาวตะวันตกบางแห่งก็ยังนิยมใช้อยู่ เรียกว่า Prostration ถือว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด

อาณานุภาพของการคิดบวก

ความคิดเปรียบได้กับการตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าใส่โปรแกรมที่ถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็ประมวลผลได้ถูกต้อง ความคิดบวกคือการโปรแกรมจิตว่า ในเมื่อคนอื่นทำได้ เราก็ทำได้ ทำให้มองเป้าหมายเป็นของง่าย และเมื่อความคิดเป็นบวก จิตใจจะผ่องใส ไม่กลัว ไม่กังวล พบเจอผู้คนก็จะคิดดี ทำดี พูดดี และไม่หวั่นไหวเมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงเข้ากระทบ การจะรักษาความคิดให้เป็นบวกเสมอ ต้องอาศัยความเพียรฝึกเจริญสติ จนจิตมีสติปัญญากล้าแข็งเพียงพอรู้เท่าทันความคิด ตามดูจิตได้ทัน และเกิดปัญญาเห็นแจ้ง เมื่อนั้นสติปัญญาจะเป็นฐานที่มั่นคงถาวรของความคิดในแง่บวกได้เอง

การคิดบวกจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อประกอบไปด้วยเหตุและปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งการแสวงหาหนทางเพื่อให้ได้มาซึ่งเหตุและปัจจัยที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องไม่ยากสำหรับผู้มีสติปัญญา เนื่องจากผู้มีสติปัญญาจะไม่เก็บสะสมความคิดแง่ลบซึ่งเปรียบได้กับขยะเอาไว้ จึงมองเห็นหนทางที่ถูกต้องชัดเจน และมีความเพียรที่จะเดินไปตามหนทางนั้น

ความคิดบวก+เหตุและปัจจัยที่เหมาะสม+บุญ = ความสำเร็จ
ดร.สนอง วรอุไร

เคล็ดลับ ขอ-เชื่อ-รับ ของเดอะซีเคร็ต

เดอะซีเคร็ต บอกว่า มนุษย์เปรียบเหมือนเสาส่งสัญญาณ เมื่อความคิดเกิดขึ้นจะมีคลื่นความถี่และแรงดึงดูดกระจายออกมา ความคิดที่มีพลังนั้นจะมีคลื่นความถี่ชัดเจนไม่ขาดหาย และมีพลังดึงดูดคลื่นความคิดที่มีความถี่ตรงกันเข้าหากัน โดยมีเคล็ดลับ 3 ข้อ
  1. การขอ คือการตั้งจิตอธิฐาน ประทับความปรารถนาไว้ในจิตใจของคุณอย่างแน่นอน มิใช่ขอจากจักรวาล
  2. การเชื่อ คือการสร้างศรัทธา เพราะเมื่อมีความศรัทธาเกิดขึ้นจะมีความมุ่งมั่น พอใจมานะพยายาม ซึ่งมาจากความเชื่อมั่นว่าคุณสามารถทำสิ่งนั้นให้สำเร็จด้วยตนเอง
  3. การรับ คือการสร้างภาพแห่งความรู้สึก ซึ่งเป็นส่วยที่ทำได้ยากที่สุึด เพราะคุณต้องใช่ สติ เป็นซีอีโอในการบริหารจัดการความคิดจิตใจของคุณไม่ให้เกิดความรู้สึกในทางลบ ไม่ว่าจะเป็น กลัว โกรธ เกลียด สงสัย เศร้าหมอง ฯลฯ ที่คอยรบกวนจิตใจของคุณเป็นบวกไม่ครบร้อยเปอร์เซ็นต์สักที ซึ่งการฝึกเจริญสติตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ซีอีโอประจำตัวคุณทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ทันตแพทย์สม สุจีรา

วิธีใช้ชีวิตให้มีความสุข

  • อยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนา
  • หาเวลาทำกิจกรรมที่สร้างความสบายใจ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด และสร้างสมดุลให้ชีวิต
Secret Box

วิธีแก้ปัญหาที่ซับซ้อนยุ่งยาก

  • อย่าตื่นตระหนก
  • ตั้งสติให้ดี
  • ตีโจทย์ให้แตกเพื่อค้นหาสาเหตุ
  • แก้ด้วยความเพียรจนสำเร็จ
Secret Box

วิธีทำงานให้ประสบความสำเร็จ

  • รับผิดชอบต่อทุกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • ซื่อตรงและยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องโดยไม่หวั่นไหว
  • คิดวิเคราะห์ทุกอย่างให้ชัดเจนแล้วจึงถ่ายทอดความคิดออกมาอย่างชัดเจน
Secret Box

เจ้ากรรมนายเวร

เจ้ากรรมนายเวรก็คือ ใครก็ตามที่เราเคยทำให้เขาเดือดร้อน และเขาคงผูกอาฆาตพยาบาทเอาไว้ว่า จะหมายมั่นปั้นมือล้างแค้นให้ได้ ถ้าสบโอกาสเมื่อไรก็จะทำทันที

พลังของ จิตพยาบาท นั่นเองที่ทำให้กลายเป็นกฏแห่งกรรม คอยตามเล่นงานกันไปหลายภพหลายชาติ

เฝ้าดูด้วยสติ

จุดสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานคือ อย่าตั้งใจเพ่งจนเกินไป หรือพยายามฝืนความรู้สึกฝืนความคิดตัวเอง ด้วยเข้าใจว่าความรู้สึกที่ไม่ดี เช่น ราคะ โทสะ โมหะ รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา ฯลฯ ไม่ควรผุดขึ้นในใจ

เมื่อคิดเช่นนั้นจึงไปพยายามไปกด ไปบังคับความคิด ความรู้สึกของตัวเองอยู่ตลอดเวลาขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การไปกดไว้เช่นนั้นกลับจะทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติของร่างกายและจิตใจอย่างที่เป็นซึ่งในแต่ละคนจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน ในเมื่อจับจริตของตัวเองไม่ได้ ไม่เข้าใจในธรรมชาติตามแบบฉบับของตัวเอง การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ต่อเนื่องขึ้นสู่ญาณระดับสูงไม่มีทางเป็นไปได้เลย

วิปัสสนา คือ การตั้งสติเฝ้าดู แค่รู้เฉยๆ ไม่ต้องไปทำอะไร ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องจ้อง จิตไม่ต้องจดจ่อ ดูรู้ตามอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อะไรจะเกิดขึ้นก็สักแต่ว่ารู็ และจำอาการนั้นได้ เช่น โกรธหนอๆๆ อิจฉาหนอๆๆ คิดหนอๆๆ แต่ไม่เอาจิตเข้าไปปรุงแต่งให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน มากยิ่งขึ้นไปอีก อย่าเอาใจเข้าไปรับเหมือนกับเรือที่ลอยละล่องไปตามจังหวะของคลื่น แต่ทำให้เหมือนกับการมองจากเครื่องบิน แยกสติออกไปจับอาการของคลื่นนั้น และทำความเข้าใจในธรรมชาติของมัน ทุกอย่างเกิดขึ้นมาย่อมมีความไม่เที่ยงเสมอดังนั้นในไม่ช้ามันก็จะผ่านไป ไม่ต้องไปทำอะไร เพียงแต่เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงด้วยสติ
ทันตแพทย์สม รุจีรา

กองทุนลุมพินีสถาน


การปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติพระพุทธเจ้าบริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" (SACRED GARDEN) ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนี้นับว่าโชคดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาวไทย เพราะการที่จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณสถานที่ประสูติ ณ ลุมพินีสถานนั้น เป็นเรื่องยากมากเพราะประเทศพุทธหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยพยายามขออนุญาต บูรณปฏิสังขรณ์กันมานานนับสิบปี แต่ไม่ได้รับโอกาส เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลกแล้ว ดังนั้นการที่คณะกรรมการมรดกโลก และ LUMBINI DEVELOPMENT TRUST (LDT.) ได้อนุญาตให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในฐานะตัวแทนคนไทยเป็นผู้บูรณปฏิสังขร์บริเวณสถานที่ประสูติ จึงถือเป็นโชคดีและเป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวไทยและที่สำคัญจะเป็นการ รวมพลังสามัคคีธรรมของชาวไทยถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในปีมหามงคลนี้ด้วย

Lumbinidevelopment.org
ร่วมบริจาคได้ทุกวัน
บัญชี "กองทุนลุมพินีสถาน"
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลาดพร้าวซอย ๑๐
เลขที่บัญชี ๐๔๗-๒๕๕๙๑๖-๔

ข้อปฏิบัติในวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่ง เดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ"

วันวิสาขบูชา วันที่ชาวโลกทั้งหลายต่างมีความยินดี มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดของพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับการเสด็จดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาขอให้ครอบครัวปรารพแต่เรื่องที่เป็นกุศล พูดแต่เรื่องที่เป็นกุศล กุศล 3 อย่างคือ
พุทธ ได้แก่บุคคลตัวอย่าง
ธรรมะ คือวิธีการปฏิบัติ
สังฆะ คือองค์รวม หมายถึง พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ไปจนถึงการทำงาน

วันวิสาขบูชา เราควรจะพูดถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ เป็นความสุข ก่อนจะถึงวันวิสาขบูชาเราจะทำอะไร ควรจัดหิ้งพระ ทำความสะอาดบ้าน พอเพียงแก่การรับพร ประกอบกิจ สวดมนต์ ภาวนา รักษาศีล
ถึงตอนเย็นก็ไปเวียนเทียนตามกิจกรรมสังคม แต่วันวิสาขบูชาเราต้องเริ่มจากที่บ้าน ที่ทำงาน และสังคม เพราะการศึกษาพระธรรม เราต้องศึกษาในส่วนที่ศึกษาจากวัดวา จากศาสนา การปฏิบัติธรรม เราต้องปฏิบัติที่บ้านให้บ้านเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายและนำเสนอความเป็นมาและความสำคัญของวันวิสาขบูชาที่มีต่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันนี้ เป็นวันที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมเพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นวันแห่งอิสรภาพ วันที่พระธรรมได้ปรากฏแก่ชาวโลก และวันที่พระองค์ได้เตือนสติให้มนุษย์ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท ฉะนั้น เมื่อวันนี้มาบรรจบ มนุษยชาติควรแสวงหาคุณค่าแท้เพื่อให้เข้าถึงการรู้ ตื่น และเบิกบานตามพุทธปณิธาน

download ebook  >  http://www.ebooks.in.th/ebook/843/

ความไวของสติ

ความไวของสติ

สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับสมถกรรมฐานคือ เมื่อฝึกถึงจุดที่มีสติไวขึ้น วิปัสสนากรรมฐานจะสามารถปฏิบัติในระหว่างวันได้โดยไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเป็นเวลานานเหมือนสมถะ ชั่วเวลาเพียงแค่สองสามวินาทีก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้ แม้ระหว่างขับรถ ยืน เดิน นั้ง นอน หรือเข้าห้องน้ำ เพราะวิปัสสนาจะใช้เพียงขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ) พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพียงแค่ชั่วเวลาช้างกระดิกใบหู ถ้าสามารถใช้สติเข้าไปจับแบบวิปัสสนาก็จะได้บุญมหาศาลถึงขนาดตัดภพตัดชาติ

แน่นอนสำหรับผู้เริ่มต้น ต้องฝึกวิปัสสนากรรมฐานแบบการนั่งสมาธิและเดินจงกรมสลับกันไป เพราะกำลังสติยังไม่แข็งแรงพอ ในช่วงเาลาเริ่มแรก ผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐานจะรู้สุกว่าทรมานมากกว่าผู้ที่ฝึกสมถะกรรมฐาน แต่เมื่อฝึกจนถึงระดับที่บรรลุญาณ และสามารถใช้สติเข้าไปจับปรากฏการณ์ต่างๆ ของธรรมชาติรอบๆ ตัวรวมไปถึงธรรมชาติภายในตัวเอง จนเข้าใจธรรมชาติอย่างที่เป็นจริงจะรู้สึกไวกับการใช้สติไปจับปรากฏการณ์ต่างๆ ตามแต่จริตของตัวเพราะในชีวิตประจำวันของเรามีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งทางกาย เวทนา จิต และธรรม มีการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เกิดขึ้นจำนวนนับล้านๆ เหตุการณ์ ยิ่งสติไวยิ่งเห็นละเอียด และเห็นอย่างที่คนอื่นไม่เห็น พยายามปฏิบัติธรรม กำหนดสติ ให้ถึงจุดที่หลุดพ้นได้ คือผ่านพ้นญาณ 16 เพื่อเข้าสู่ความจริงอันสูงสุด ความสุขที่จริงแท้และเป็นนิรันดร์
ทันแพทย์สม สุจีรา

เปลี่ยนชีวิตด้วยการฝึกจิต

  • การฝึกจิตเป็นยาแก้ความเครียดที่มีประสิทธิภาพที่สุด
  • การฝึกจิตทำให้คุณเข้าใจจิตใจของตนเองได้อย่างกระจ่างชัด
  • การฝึกจิตต้องอาศัยการฝึกฝน เมื่อฝึกฝนจนชำนาญคุณจะปล่อยวางและเป็นอิสระจากความทุกข์
Secret Box

อารมณ์วิปัสสนากับนักกีฬา

การนำหลักทางพุทธศาสนามาใช้ในวงการกีฬา ในขณะมีการแข่งขัน ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะที่เต็มไปด้วยสติ) ของนักกีฬาจะหายไป ประกอบกับความตื่นเต้นทำให้อารมณ์วิปัสสนาไม่เกิด โค้ชที่เก่งๆ จะต้องดึงสติของนักกีฬากลับมาให้ได้

อารมณ์วิปัสสนาสำคัญมากในการแข่งขัน ไม่ว่าทางกีฬาหรือธุรกิจ เพราะจะทำให้เกิดปัญญาเห็นเหตุปัจจัยของความสำเร็จ ไม่ใช่เอาจิตไปมุ่งมั่นแต่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับไทเกอร์ วู้ด บอกว่าเหตุและปัจจัยของความสำเร็จคือสติที่จับอยู่ระหว่างสะวิง ไม่ใช่ไปจับอยู่ที่หลุม เขาเคยบอกว่า ขณะสะวิงไม้กอล์ฟลงถ้ามีแมลงบินผ่าน เขาสามารถหยุดไม้ไว้ที่จังหวะนั้นได้ด้วยซ้ำ แสดงว่าสติเขาละเอียดและไวมาก

ด้วยเหตุนี้นักกีฬาทุกคนจึงต้องมีโค้ช ถ้าเทียบนักกีฬาเป็นฝ่ายบู๊ โค้ชเป็นฝ่ายบุ๋น ตามปกติจิตของฝ่ายบู๊จะจับไปที่ความสำเร็จ แต่ฝ่ายบุ๋นจะใช้สติวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จนั้น และนำมาสอนฝ่ายบู๊อีกที
เรื่อง นายแพทย์สม สุจีรา

ความสำเร็จ

  1. การเอาจิตไปจับที่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียว โดยละเลยเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นเรื่องอันตราย
  2. สติคือปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
  3. ค้นหาความถนัดของตัวเองให้พบ แล้วเติมวิริยะ (ความพากเพียร) จิตตะ (การเอาใจใส่) วิมังสา (การพินิจพิเคราะห์ ใช้เหตุและผลพิจารณา) เข้าไปก็จะพบความสำเร็จได้โดยง่าย
Secret Box

การอธิษฐาน

การอธิษฐานขอให้ได้สิ่งดีๆ ในชีวิตไม่ถือเป็นความโลภ เพราะเราแค่หวัง "เท่านั้น" ไม่ใช่ "คาดหวัง"

ความหวังเป็นแรงจูงใจและเป็นแรงบันดาลใจให้อยากมีชีวิตอยู่ แต่ความโลภเป็นอวิชชา นำมาซึ่งความคิดผิดๆ และการกระทำผิดๆ...จึงต่างกัน
Secret Box

ความไม่เที่ยง

ความไม่เที่ยง
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานคือ การกำหนดสติเฝ้าดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญาเข้าใจถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดมรรคญาณ บรรลุโสดาบัน และบรรลุอรหันต์ต่อไป

เครื่องมือที่มีส่วนสำคัญในการช่วยกำหนด คือสติสัมปชัญญะที่เข้าไประลึกและรู้สึกถึงประสาทสัมผัสทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งสำคัญที่สุดระหว่างการกำหนดสติก็คือ ให้เพ่งพิจารณาไปที่ความไม่เที่ยง ทั้งขณะเริ่มเกิด ขณะตั้งอยู่ และเมื่อดับไปเปรียบเทียบเป็นรูปธรรมให้เข้าใจได้ง่ายๆ เช่น ใบไม้ที่กำลังร่วงจากต้น โดนแรงลมพัดสั่นไหวไปมา ในขณะนั้นจะเกิดความไม่เที่ยงเกิดอนิจจัง ทุกขัง ให้ใบไม้ดำรงสภาวะนั้นไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จะหลุดจากขั่ว เกิดการตกลงมา ขณะที่ปลิวตกลงบนพื้นให้ตั้งสติกำหนดที่ความพลิ้วไหว อาการการเคลื่อนที่ของใบไม้ทุกชั่วขณะ ซึ่งจะพบว่าไม่มีความเที่ยงเลย จนเมื่อใบไม้ตกถึงพื้นก็เป็นการดับของปรากฏการณ์ตก

การปฏิบัติสมถกรรมฐานสามารถเปลี่ยนมากำหนดพิจารณาแบบวิปัสสนากรรมฐานได้ เพียงแต่ขอให้มีกำลังสติที่ไวขึ้นและใช้ขณิกสมาธิ(สมาธิชั่วขณะ) ไม่ใช่สมาธิแนบแน่นในอารมณ์เดียว เช่นการสวดมนต์สามารถสวดได้ทั้งแบบสมถะและแบบวิปัสสนา การสวดแบบสมถะคือ ท่องไปเรื่อยๆ อย่างมีสมาธิแนบแน่น แต่การสวดแบบวิปัสสนาจะเป็นการสวดอย่างมีสติ และใช้เพียงสมาธิชั่วขณะเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงและการเกิดดับของแต่ละคำ เช่น สุปฏิปันโน ภควโต ต้องแยกการเกิดดับของแต่ละพยางค์ สุ-ปะ-ฏิ-ปัน-โน-ภะ-คะ-วะ-โต เช่นเดียวกับผู้ที่ฟังเพลงแบบวิปัสสนาเมื่อฟังเพลงจบเขาจะบอกได้ทันทีว่าเพลงนั้นมีการเกิดดับของตัวโน้ตกี่ตัว และมีเสียงเครื่องดนตรีชนิดใดเกิดขึ้นแล้วดับไปบ้าง เขาจะสามารถรับพลังของตัวโน้ตและเสียงดนตรีเข้าสู่ใจ ตรงกันข้ามกับคนที่ฟังเพลงแบบสมถะ จะได้แต่ความดื่มด่ำเข้าสู่ใจ แต่ไม่เกิดพลังปัญญา

หัวใจสำคัญของการกำหนดความไม่เที่ยงอีกอย่างก็คือ ต้องกำหนดให้ครบรอบของการเกิดดับ การกำหนดเพียงขณะเกิดหรือขณะดับ จะถือเป็นเพียงสมถะกรรมฐาน เช่น ขณะเดินจงกรม ซ้าย-ย่าง-หนอ ขวา-ย่าง-หนอ แต่กำหนดเฉพาะตอนยกเท้าซ้ายไปข้างหน้า และไปกำหนดอีกทีตอนจบคือเท้าซ้ายแตะพื้นก็คือจบการย่างหนึ่งก้าว แต่ไม่เคยสังเกตอาการก้าวซึ่งสำคัญมาก และอาการก้าวในแต่ละชั่วขณะจิตจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งมุมเท้า ความเร็วเท้า ความรู้สึกที่มีต่อเท้า ซึ่งจุดนั้นสำคัญเท่าๆ กับอาการเกิดตอนยกเท้าจากพื้น หรืออาการดับตอนเท้าแตะพื้น เช่นเดียวกับการกำหนดลมหายใจสามารถนำมาฝึกวิปัสสนาได้ เพียงแต่ขอให้กำหนดที่อาการการเคลื่อนของลมหายใจขณะกำลังเข้า-ออก ว่ามีความไม่เที่ยงอยู่เสมอ ทั้งความเร็วลม ปริมาณลม ทิศทางลม จะเห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทันตแพทย์สม รุจีรา

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลาง เมืองลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร หรือที่คนลำพูนเรียกว่า "วัดหลวง" เป็นพระอารามหลวง ภายในวัดพระธาตุฯเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์หริภุญชัย ตามตำนานจามเทวีวงศ์กล่าวไว้ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1440 เมื่อครั้งที่พระเจ้าอาทิตยราชทรงครองราชย์อยู่นั้น พระองค์ได้ดำริให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรไว้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ แล้วจึงปลูกสร้างหอจัณฑาคารที่ลงพระบังคน (ถ่ายทุกข์หนักและเบา) ไว้ที่ใกล้ปราสาทนั้น แต่ทุกครั้งที่พระองค์จะเสด็จลงพระบังคนที่หอนั้น อีกาที่ทำหน้าที่เฝ้ารักษาพระธาตุไว้มักจะบินมารบกวนเป็นที่น่ารำคาญอยู่ เสมอ พระเจ้าอาทิตยราชจึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ช่วยกันทำบ่วงคล้องจึงจับกาตัวนั้น แล้วนำไปขังไว้กับทารกแรกเกิดเป็นเวลา 7 ปี จนเมื่อทารกนั้นเติบโตขึ้นและสามารถพูดคุยกับกาได้เด็กน้อยจึงกราบทูลพระ เจ้าอาทิตยราชว่า "อันสถานที่พระองค์ได้ทรงสร้างหอจัณฑาคารนั้น เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ อุรังคธาตุแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีตกาลพญากาเผือกผู้เป็นอัยกาได้สั่งให้เป็นผู้เฝ้ารักษาสถานที่นี้ คอยป้องกันไม่ให้ผู้คนและสัตว์มาทำสกปรก" เมื่อพระเจ้าอาทิตยราชได้ยินเช่นนั้นจึงโปรดให้รื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้ง หลายแล้วสร้างพระบรมธาตุขึ้น โดยให้จัดงานสมโภชพระบรมธาตุตลอด 7 วัน 7 คืน ด้วยเหตุนี้พระบรมธาตุหริภุยชัยจึงได้กลายเป็นศาสนสถานที่ชาวเมืองให้ความ เคารพนับถือสืบต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

การนอนอย่างพระอรหันต์

ประทับสีหไสยาส

ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ความต้องการการนอนหลับของคนเราจะแปรผันไปตามอายุ ดังนี้
- ทารกต้องนอนวันละ 17 ชั่วโมง
- เด็กที่ยังเจริญเติบโตต้องนอนวันละ 17 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่ต้องนอนวันละ 7-8 ชั่วโมง
- ผู้สูงอายุก็ต้องนอนวันละ 7-8 ชั่วโมงเช่นกัน แต่จะมีช่วงของการหลับลึกเพียงช่วงเดียวเท่านั้น

ประทับสีหไสยาส เป็นพระอิริยาบทของพระพุทธองค์ คือการบรรทมหลับพักผ่อน มีพระอาการคือนอนตะแคงทางเบื้องขวา วางพระบาทซ้อนเหลื่อมกัน พระหัตถ์ซ้ายวางพาดยาวไปตามลำตัว พระหัตถ์ขวางอพับเข้ามารองรับพระเศียร การนอนของพระอรกันต์จะนอนเพียงวันละ 4 ชั่วโมง เหตุที่พระอรหันต์ต้องการนอนน้อยกว่าคนทั่วไป ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งกิเลส และมีสติอยู่เสมอทุกขณะตื่น จึงสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ตมความเป็นจริง โดยไม่เผลอนำสิ่งกระทบต่างๆ มาปรุงแต่งให้เกิดเป็นอารมณ์ จึงไม่ต้องการเวลานอนในช่วง REM มากนัก

นอกจากนั้นผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังรับรองด้วยว่า การทำจิตให้สงบเป็นสมาธินับเป็นการจัดระเบียบคลื่นสมองที่มีประสิทธิภาพที่สุด และถือเป็นการพักผ่อนเชิงลึกที่สามารถชดเชยการหลับลึกได้ถึง 4 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้สมองอันปราศจากข้อมูลขยะของพระอรหันต์จึงไม่ต้องการช่วงเวลาหลับลึกเพื่อฟื้นฟูสภาพสมองและจัดระเบียบเซลล์ประสาทมากเท่าคนทั่วไป

พระพุทธเจ้าซึ่งทรงเป็นพระศาสดาของพระอรหันต์ทั้งปวงเคยตรัสถึงการบรรทมของพระองค์วไว้ว่า พระองค์บรรทมด้วยการสำเร็จสีหไสยา ซึ่งแปลว่า การนอนอย่างราชสีห์ คือการนอนตะแคงขวาอย่างมีสติสัมปชัญญะ ประกอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอุเบกขา ไม่ทุกข์และไม่สุข อยู่ในสมาธิขั้นสูง (ฌาน 4) ไม่มีความยินดีในการนอนหลับ และพร้อมจะลุกขึ้นอยู่เสมอ

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอานิสงส์ของการหลับอย่างมีสติไว้ 5 ประการ
1. ทำให้หลับเป็นสุข
2. ทำให้ตื่นเป็นสุข
3. ทำให้ไม่ฝันร้าย
4. ทำให้เทวดารักษา
5. ทำให้มีสติไม่หลงไหลในกามซึ่งเกิดจากความฝัน

นั่นของเรา

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
"นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา"
พุทธวจน

สติกับสมาธิ

ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ๋ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการกำหนดสติกับการทำสมาธิได้ ทำให้ไม่มีโอกาสบรรลุเข้าสู่มรรคผลนิพพาน เพราะการนั่งสมาธิแม้จะได้ถึงฌานระดับสูงสุดก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นอรูปพรหม แต่ไม่สามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฎได้

สมาธิคือความแน่วแน่ มุ่งมั่น แต่สติคือความละเอียด ความว่องไว เปรียบกับการขับรถ สมาธิคือการตั้งจิตบังคับรถให้วิ่งไปตามถนนและมุ่งมั่นถึงจุดหมายปลายทางที่จะไป ส่วนสติคือการรู้ตัวในทุกชั่วขณะของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่นการไหวตัวของรถ สัญญาณเตือนต่างๆ บนหน้าปัด รู้ว่ามีรถสวนมา มีรถแซง มีหลุมบ่อข้างหน้า การขับรถด้วยสมาธิอย่างเดียว แต่ขาดสติ เป็นเรื่องอันตราย

สติคือการควบคุมเฝ้าดูความรู้สึก แต่สมาธิเป็นการดื่มด่ำแนบแน่นไปกับความรู้สึกนั้น ขณะมีสมาธิกิเลสจะเข้าง่าย แต่ขณะมีสติกิเลสจะเข้าไม่ได้

สมาธิทำให้เกิดกำลัง แต่สติทำให้เกิดความไว หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าสติคือสมาธิชั่วขณะที่ไวมากๆ นั่นเอง มนุษย์รู้จักสมาธิมานานแล้ว มีกุศโลบายมากมายของมนุษย์ที่ช่วยทำให้เกิดสมาธิ เช่นพิธีกรรม ความศรัทธา การดูฤกษ์ยาม ความเชื่อต่างๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อดึงพลังอันลึกลับจากภายนอก แต่เป็นการดึงพลังจากสมาธิภายใน ผู้ที่ศรัทธาอย่างแรงกล้าจะมีจิตที่มุ่งมั่นเห็นคุณค่าในสิ่งนั้น พอใจในสิ่งนั้นสามารถอุทิศตัวทั้งกายและใจเพื่อสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการยิงธนู ผู้ยิงจะต้องมีสมาธิจับไปที่เป้า แต่สติคือปัญญาที่จะทำอย่างไรเพื่อจะยิงไปให้ถูกเป้า ถ้ามีสติ แต่ขาดสมาธิเป้าหมายจะไม่ชัด โอกาสยิงถูกก็น้อยลง ในทางตรงข้าม ถ้ามีสมาธิ แต่ขาดสติก็ยิงไม่ถูก

เมื่อใดที่รู้สึกตัวเริ่มมีสมาธิ ให้กำหนดสติเฝ้าดูและรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ว่ากำลังมีสมาธิ
การกำหนดสติ คือการเฝ้าดูความรู้สึกที่ผุดขึ้นในใจทุกครั้งที่ละลึกได้ เช่น โกรธหนอๆ เกลียดหนอๆ
แม้ไม่มีความรู้สึกใดๆ ก็ให้กำหนดไปที่การเคลื่อนไหวทางกาน เช่น อิริยาบถต่างๆ การยุบ-พองของท้อง การตั้งสติดูลมหายใจเข้า-ออก

สติสำคัญกว่าสมาธิ แต่สติก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นฐานในการสร้าง

เรื่อง ทันตแพทย์สม สุจีรา

ความตายไม่น่ากลัวเลย

ตอนจะสิ้นใจตายเป็นวินาทีที่วิกฤติของชีวิต เพราะเป็นตัวชี้นำว่าจะไปเกิดในภพภูมิไหน หากตายขณะจิตเศร้าหมองย่อมไปเกิดในอบายภูมิ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) โดยมิต้องสงสัยแต่ถ้าตายขณะที่จิตผ่องใส ย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา พรหม) อย่างแน่นอน เรื่องนี้พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจน

ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับตนที่กำลังจะตาย จะช่วยให้เขาไปเกิดในสุคติภูมิได้อย่างไร อย่าไปกลัวความตาย คนเราไม่ได้ตายจริง ตายเพียงแต่ร่างกาย จิตใจไม่ได้ตายไปด้วยเมื่อสิ้นลมไปแล้ว หากยังมีกิเลสอยู่จิตจะนำพาไปเกิดอีก ตอนมีชีวิตอยู่หากร่างกายที่หมดสภาพนำทุกข์มาให้ ไม่สามารถใช้ร่างนี้ให้เกิดประโยชน์ การตายกลับเป็นโอกาสที่จะหาร่างใหม่ที่ดีกว่านี้ สำคัญว่าตายอย่างไรจะได้กลับมาเกิดเป็นคน ต้องฝึกตายก่อนที่จะตาย ฝึกใจให้อาจหาญไม่กลัวตาย ฝึกละความห่วงใยในสิ่งต่างๆ ทั้งตัวบุคคลและสมบัติรอบข้าง ฝึกสวดมนต์ทำสมาธิภาวนาเพื่อให้จิตคุ้นเคย หมั่นทำบุญและรักษาศีลให้ได้ เมื่อเวลาจะตายให้นึกถึงบุญกุศลที่ทำไว้ หรือสวดมนต์ภาวนาก่อนสิ้นใจ ความตายเป็นของไม่น่ากลัวเลย หากเปิดใจเรียนรู้และยอมรับความเป็นจริง

พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

วิปัสสนาญาณที่ 4

วิปัสสนาญาณที่ 4 เป็นญาณระดับสูงสุดที่มนุษย์ปุถุชนทั่วไปส่วนใหญ่จะเข้าถึง แต่หยุดแค่เพียงระดับนี้ เพราะเมื่อเริ่มเข้าสู่ญาณ 4 จะเกิดสิงอัศจรรย์ที่ทำให้เกิดกิเลสชึ้นอย่างมากมาย ถ้าไม่มีพระอาจารย์คอยชี้แนะ โอกาสที่จะขึ้นต่อไปถึงญาณ 5-15 เป็นไปไม่ได้เลย

ความอัศจรรย์ลำดับที่ 1 คือแสงสว่าง(โอภาส) จะเกิดแสงสว่างขึ้นในใจ และราวกับว่าสว่างไปรอบกาย เป็นแสงสีที่ไม่เคยเห็นด้วยตาเนื้อมาก่อน งดงามเหนือคำบรรยาย ส่องกระทบสิ่งใดจะเปล่งประกาย สวยสดราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ จะเกิดความยินดีพอใจ จนไม่สนใจตั้งสติกำหนดการเกิด-ดับของรูป-นามอีกต่อไป

ความอัศจรรย์ลำดับที่ 2 จะเกิดปัญญาญาณ (ญาณะ) ระดับที่ทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่งไปหมด เห็นเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จะนึกจะคิดสิ่งใดก็เข้าใจได้อย่างง่ายดาย ผู้ปฏิบัติหลายคนเกิดความเข้าใจผิดว่าตัวเองบรรลุญาณหยั่งรู้ทุกสรรพสิ่งแล้ว

ส่วนความอัศจรรย์ลำดับที่ 3, 4, 5 จะเกิดขึ้นเกือบพร้อมๆ กันคือจะเกิด ปิติ รู้สึก อิ่มเอิบใจอย่างบอกไม่ถูก พร้อมกับพบความสุขชนิดที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนในทางโลก และเกิดความสงบอย่างมากเมื่อพบกับปิติ สุข และสงบเช่นนี้แล้ว ยากนักที่ใครจะหลุดพ้นจากกับดักนี้ได้ เพราะความรู้สึกนั้นเหนือกว่าสุขที่ได้จากทางโลกหลายร้อยเท่า เมื่อเกิดความยินดี พอใจ และยึดติด วิปัสสนาญาณก็จะหยุดเพียงระดับนี้

ผู้ปฏิบัติธรรมที่สามารถเอาชนะความอัศจรรย์ทั้งห้านี้ได้ เท่ากับผ่านญาณ 4 ไปแล้วครึ่งหนึ่ง แสดงว่ากำลังสติและปัญญาต้องสูงพอสมควร จึงสามารถสลัดสุดยอดกิเลสเหล่านี้ออกไปได้

การที่เอาชนะโอภาส ญาณหยั่งรู้ ปิติ สุข และสงบได้แสดงว่าต้องมีพลังแห่งอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ(ความพอใจ) วิริยะ(ความเพียร) จิตตะ(ความมุ่งมั่น) และวิมังสา(การวิเคราะห์) ในการปฏิบัติสูงมาก แต่การมีอิทธิบาท 4 มากเกินไปโดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่ดำเนินอยู่ในทางสายกลาง จะทำให้เกิดอาการร้อนวิชา สร้างความเพียรอย่างแรงกล้ามากเกินไป หลงพยายามจนขาดสติ หรือในทางตรงข้ามพยายามจนเกินกำลังสติที่เหนือคนธรรมดา สามารถใช้สติไปจับรายละเอียดของปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนสามารถเล่นกับความไวของสติได้ จนหลงยึดติดคิดว่าตัวเองมีฤทธิ์และพอใจกับการค้นพบความมหัศจรรย์นั้น

ถ้าสามารถผ่านด่านนี้ไปได้ คือปฏิบัติตามสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อน ไม่ยึดติดกับกิเลสทั้งหลายทั้งปวง สิ่งสุดท้ายที่จะเป็นอุปสรรคสำหรับการผ่านพ้นญาณ 4 คืออุเบกขา ซึ่งจะเกิดความรู้สุกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย และไม่ยึดติดกับกิเลสทั้งหลายที่ผุดขึ้นมา แต่กลับปรากฏว่าได้พบกับความสุขจากการไม่ยึดติดกับกิเลสอย่างเทียบกันไม่ได้ อย่างไรก็ตามการหลงพอใจในอุเบกขาก็จะทำให้วิปัสสนาญาณก้าวหน้าไม่ได้เลย

อาการที่ชี้ว่าใกล้จะผ่านพ้นญาณที่ 4 แล้วคือเห็นการเกิด-ดับมาทับซ้อนกัน ณ เวลาเดียวพอเห็นการเกิดก้เห็นความดับทันที ไม่ว่าสิ่งใดมากระทบทางทวารหก เช่น เสียงที่ดังมากระทบหูพอกำหนดปั๊บก็จะเห็นมันดับไปทันที รู้เท่าทันการเกิด-ดับของทุกสิ่งกำหนดตรงไหนก็เห็นการเกิด-ดับไปหมด ถ้ากำหนดรู้เช่นนี้แสดงว่าเริ่มใกล้จะผ่านพ้นญาณที่ 4 และขึ้นสู่ญาณที่ 5

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนบรรลุญาณที่ 4 ถ้ากำหนดตามหลักสติปีฏฐานอย่างเคร่งครัด จะไม่มีสิ่งใดที่น่ากลัวผุดขึ้นมาหลอกหลอนเลย ที่มีข่าวว่าผู้ปฏิบัติกรรมฐานเกิดอาการเสียสติ แสดงว่าปฏิบัติผิดวิธี

เรื่อง ทันตแทย์สม รุจีรา

พ่อแม่ยังเป็นปุถุชน

พ่อแม่ก็ยังเป็นปุถุชนคนหนึ่ง มีทั้งด้านดีและด้านเสีย จะดีร้ายอย่างไรท่านก็มีพระคุณต่อลูกมากมาย การตอบแทนพระคุณท่านจึงเป็นหน้าที่ของลูกทุกคน และเป็นมาตราวัดคุณธรรมของความเป็นมนุษย์อีกด้วย
พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

วิธีสังเกตุอิริยาบถแบบง่ายๆ

วิธีสังเกตุอิริยาบถ
  • เมื่อยืนอยู่ ให้สังเกตุอากัปกิริยาอาการว่ายืนอยู่ในท่าทางอย่างไร ขณะเคลื่อนกายถ่ายเทน้ำหนักอย่างไรก้ให้สังเกตด้วย
  • เมื่อเดินอยู่ สังเกตความรู้สึกที่เกิดจากการเดินทั้งหมด ใช้ใจสังเกตุเท้าก้าว - เท้าเคลื่อน - เท้ากระทบพื้น หากกำลังรีบ อาจมองแค่การก้าวเท้าไปกระทบพื้น หากกำลังรีบ อาจมองแค่การก้าวเท้าไปกระทบพื้นอย่างเดียวก้ได้
  • เมื่อนั่งอยู่ สังเกตุการนั่งว่านั่งอยุ่ในท่าใด รู้สึกอย่างไร มือวางอยู่ที่ไหน ขณะเปลี่ยนท่านั่งก็อย่าลืมใช้ใจสังเกตุกายด้วย
  • เมื่อขณะนอนอยู่ สังเกตุตัวเองที่กำลังจะเอนตัวลงนอน สังเกตุว่าตัวเองนอนท่าใด รู้สึกอย่างไร
พระอาจารย์อยากให้ทุกคนหมั่นสังเกตุอิริยาบถของตัวเองเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะ ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกตัวเมื่อใด ให้สังเกตุดูอิริยาบถของเราทันที

www.facebook.com/nutthanop.tr

สวดมนต์แล้วดีอย่างไร

การสวดมนต์มีผลดีต่อสุขภาพร่างกาย แม้อาจไม่ถึงกับเป็นยาบำรุงกำลัง แต่ผู้ที่สวดมนต์บ่อยๆ เปล่งเสียงดังๆ เต็มที่อย่างถูกต้องตามฐานกรณ์ (ออกเสียงให้ถุกตามที่เกิดของเสียง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า accent) ระบบการหายใจย่อมจะเป็นไปตามธรรมชาติ ส่งผลให้ร่างกายสูบฉีดโลหิตเป็นปกติ มีการขับของเสียในร่างกายออกเป็นการสร้างเสริมส่วนที่บกพร่องให้คงคืนและดีขึ้น ทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ดี

สังเกตุได้ว่าโยคีที่นั่งไหว้พระอาทิตย์ริมฝั่งแม่น้ำคงคาทุกวันๆ แม้ไม่ค่อยได้กินอะไร เอาแต่เปล่งเสียงดังยาวๆ นานๆ ปรากฏว่าสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย เมื่อมีคนถามว่าเพราะเหตุใด โยคีตอบว่า เพราะสวดมนต์ทุกวัน ยิ่งถ้าได้สวดมนต์ที่มีเนื้อหาดีงามเป็นนิจศีล ดังที่พระสงฆ์สวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น สุขภาพกายและสุขภาพจิตย่อมดีแน่นอน

นอกจากนั้นการสวดมนต์ยังเป็นการสร้างสมาธิอย่างดี เพียงสวดมนต์ดังๆ ทุกวันทุกคืนสม่ำเสมอ เราจะอัศจรรย์ใจเมื่อพบว่า สมาธิของเราดีวันดีคืนอย่างน่าประหลาด และเมื่อจิตเป็นสมาธิจะทำงานอะไรก็ทำได้ดี มีประสิทธิภาพ
อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต

สวดมนต์...ทำไม



การสวดมนต์น่าจะเกิดขึ้นจากประเพณีการเล่าเรียนธรรมะที่สืบเนื่องมาแต่สมัยพุทธกาลในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น พระสงฆ์จะฟังธรรมจากพระองค์แล้วจำไว้ จากนั้นจะแบ่งกลุ่มกันจำพระพุทธวจนะเป็นกลุ่ม เช่น สายพระอานน?์จำพระสูตร สายพระสารีบุตรจำพระอถิธรรม สายอุบาลีจำพระวินัย พระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าสายก็จะมีศิษยานุศิษย์ของตนมากมายช่วยกันจำพระพุทธวจนะ ลักษณะการร่ำเรียนพระพุทธวจนะนั้นดำเนินในแบบปากต่อปาก (มุขปาฐะ) คือครูเป็นผู้บอกพระพุทธวจนะ ศิษย์ก็จำต่อจากครู เมื่อจำได้แล้วครูก็มอบพระพุทธพจน์บทใหม่ให้ท่องต่อไป

การสวดมนต์ถือเป็นกุศลกรรมอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการสวดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นธรรมะทั้งสิ้น นอกจากนี้ในขณะที่สวดนั้นเป็นการทำความดีทั้งทางกาย (กิริยาที่กำลังสวดมนต์) ทางวาจา (การสวด) และทางใจ (ต้องมีสมาธิต่อบทสวดมนต์) ยิ่งถ้าเป็นการสวดมนต์แปลที่ทำให้ได้ปัญญาด้วยก็ยิ่งเป็นมหากุศล เพราะจะส่งผลให้รู้จักนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ดดยบทสวดมนต์ในพุทธศาสนามีทั้งที่เป็นบทสวดแบบร้อยแก้ว คือความเรียงธรรมดา และแบบร้อยกรอง กล่าวเฉพาะบทสวดมนต์ที่ชาวพุทธไทยนิยมสวดกันในปัจจุบัน โดยมากมักเป็นบทสวดประเภากวีนิพนต์ เช่น คาถาชินบัญชร คาถาพาหุง คาถาโพขฌงค์ซึ่งล้วนมีความไพเราะ

"มนต์" เป็นพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไครปิฎก ถ้าสวดมนต์แบบไม่มีปัญญาจะเรียกว่า "มนต์คาถา" ถ้าสวดอย่างมีปัญญาเข้าใจในพุทธธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราเรียกว่า "พุทธมนต์" ทุกวันนี้เราต้องตรองดูว่ากำลังสวดพุทธมนต์ หรือมนต์คาถา ถ้าการสวดมนต์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำให้เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต เปลี่ยนความคิดให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นก็เรียกได้ว่าสวดมนต์อย่างถูกต้องถูกทาง

ท่าน ว.วชิรเมธี

เรียนรู้จากธรรมชาติ

เรียนรู้จากธรรมชาติธรรมชาติคือทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต ไม่เพียงแต่จะเป็นที่ก่อเกิดของสรรพชีวิตเท่านั้น ธรรมชาติยังเลี้ยงดูสิ่งมีชีวิตทั้งหลายให้ดำรงอยู่ได้เป็นทั้งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และแหล่งความรู้ต่างๆ ให้มนุษย์ได้ศึกษา

ในบรรดาสรรพความรู้ทั้งหลายล้วนมีรากฐานมาจากการเรียนรู้จากธรรมชาติทั้งสิ้น สถาปัตยกรรมของมนุษย์ก็เช่นกัน ได้อาศัยการเรียนรู้จากการสร้างรังอยู่อาศัยของสัตว์ และการยึดโยงสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอยู่ตามธรรมชาติ และอีกหลายต่อหลายอย่างที่มนุษย์เรียนรู้จากธรรมช่าติ การเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เกิดปัญญาทางโลก แต่ต่อให้รู้มากเก่งกาจสักเท่าได ก้ไม่สามารถพาตนให้พ้นทุกข์ได้

หากนำธรรมชาติมาเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้เกิดปัญญาทางธรรมก็สามารถเข้าสู่อริยธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้ เป็นต้นว่า

ภิกษุณีอุบลวรรณ ขณะจุดดวงประทีปรอบศาลา ได้สังเกตุเห็นประทีปแต่ละดวงสว่างไม่เท่ากัน บางดวงอยู่ในที่ที่ไม่มีลมพัดผ่านก็สว่างโชติช่วง แต่บางดวงที่มีลมพัดผ่าน เปลวไฟก็ไหวเอนไปมาจะดับมิดับแหล่ ส่วนบางดวงที่โดนลมพัดแรงก็ดับไปทันที ภาพที่เห็นทำให้อุบลวรรณเถรีนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราว่าสั้นยาวไม่เท่ากัน บางคนตายตั้งแต่วัยเยาว์ เหมือนเปลวประทีปที่วูบดับลงทันทีที่ต้องแรงลม บางคนตายในวัยกลางคน เหมือนเปลวประทีปที่วับๆ แวมๆ บางคนตายเมื่อวัยชรา เหมือนประทีปที่ไม่ต้องแรงลม สว่างโชติช่วงและดับเมื่อหมดไส้หรือหมดน้ำมัน

เธอนำเปลวประทีปมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน น้อมเข้ามาหาตนเพื่อเตือนสติมิให้ประมาทต่อชีวิต อันใดที่ยังยึดมั่นสำคัญก็ปล่อยวางลง มิได้แบกให้เป็นภาระของใจอีกต่อไป และด้วยบารมีที่ถึงพร้อมวิปัสสนาญาณจึงเกิดขึ้น เธอจึงได้บรรลุอรหัตตผลในคราวนั้น

ยังมีอีกหลายกรณีที่พระอรหันต์หลายท่านบรรลุธรรมจากการนำธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่เฉพาะหน้า เมื่อมากระทบประสาทสัมผัสแล้วโดนใจ ก็น้อมเอามาพิจารณาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เป็นเหตุปัจจัยให้บรรลุธรรมได้

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นมีหลายวิธี อย่าไปสำคัญผิดว่าต้องปฏิบัติวิธีนี้แบบนี้เท่านั้นจึงบรรลุธรรมได้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานคือ การปฏิบัติแนวทาง สติปัฏฐาน 4 หรือ สัมมาสติ (1 ในมรรคมีองค์ 8)

เรื่อง: พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

วิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า

ลักษณะวิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ รูปแบบ ประกอบด้วยพระธรรมกถึกคือผู้ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ธรรมะคือตัวสารที่จะส่งไป และผู้ฟังคือผู้รับสารในการที่จะทำให้องค์ประกอบเหล่านี้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีขบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เรียกว่า พุทธวิธีในการสอน เพราะพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ที่พรั่งพร้อมไปด้วยคุณสมบัติของนักเผยแผ่ และพุทธวิธีในการสอนอย่างครบถ้วน จึงได้รับการยกย่องว่า “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ๓ เพื่อให้ทราบถึงวิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าตามแนวพุทธวิธีในการสอน ผู้วิจัยจะนำประเด็นที่สำคัญในการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ดังนี้

จุดมุ่งหมายในการสอน ไม่ว่าจะเสด็จไปทางไหน หรือทำอะไรพระพุทธเจ้าทรงตั้งจุดมุ่งหมายเสมอแม้แต่การสอนก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีใครปรากฏอยู่ในข่ายคือพระญาณแล้ว พระพุทธองค์ก็จะเสด็จไปแสดงธรรมโปรด เรียกว่า จุดมุ่งหมายในการสอน หรือลักษณะอาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมี ๓ อย่าง ได้แก่
๑. อภิญญายธัมมเทสนา ทรงแสดงธรรมด้วยความรู้ยิ่ง คือทรงรู้ยิ่งเห็นเองแล้วจึงทรงสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม เพื่อใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน
๒. สนิทานธัมมเทสนา ทรงแสดงธรรมมีเหตุผล คือผู้ฟังตรึกตรองตามหรือเห็นจริงได้ และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
๓. สัปปาฏิหาริยธัมมเทศนา ทรงแสดงธรรมให้เห็นจริง คือผู้ฟังนำผลนั้นไปปฏิบัติตาม พร้อมทั้งได้รับผลแห่งการปฏิบัติตามกำลังของตนๆ ๔

วิธีที่ทรงสอน วิธีที่ทรงสอนของพระพุทธเจ้ามีหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ได้จำกัดอยู่ด้วยวิธีใด
วิธีหนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ กาละเทศะและความพร้อมของผู้ฟังกำลังแห่งสติปัญญา และสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งลักษณะวิธีที่ทรงใช้สอนบ่อยๆมีอยู่ ๓ แนวทาง คือ
๑. การสนทนา เป็นวิธีที่ทรงใช้อยู่บ่อยๆ กับผู้ที่เข้ามาเฝ้า ผู้ยังไม่เลื่อมใสศรัทธา และยังไม่เข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จะทรงเป็นฝ่ายถามก่อนนำเข้าสู่เนื้อหาแห่งธรรมะ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา โดยใช้การโน้มน้าวใจเป็นหลักในการเผยแผ่ธรรมะ
๒. การบรรยาย เป็นวิธีที่ทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ ซึ่งผู้ฟังส่วนมากมีความรู้ มีความเข้าใจหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ทรงใช้เป็นหลักในการเผยแผ่ธรรมะ
๓. การตอบปัญหา เป็นวิธีการที่พระพุทธองค์ทรงใช้กับผู้ที่มาเข้าเฝ้า เพื่อสอบถามข้อสงสัยของตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นหลักในการตอบปัญหาแต่ละข้อ โดยพิจารณาถึงลักษณะของปัญหาและวิธีที่เหมาะสมกับการตอบปัญหานั้นๆในสังคีติสูตร ได้แยกลักษณะของปัญหาไว้ ๔ ประการ ได้แก่
เอกังสพยากรณียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ตอบแบบตรงไปตรงมา
ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ย้อนถามให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงตอบปัญหานั้น
วิภัชชพยากรณียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ควรแยกตอบเป็นประเด็น
ฐปนียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ไม่ควรตอบ ถือว่าไม่มีประโยชน์ เป็นเรื่องไร้สาระทำให้เสียเวลา

อุบายประกอบการสอน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเทคนิควิธีประกอบการสอนมากมาย เพื่อให้เหมาะสมกับจริตหรือความต้องการของบุคคลนั้นๆ จึงจะทำให้การเผยแผ่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย
๑. การยกอุทาหรณ์และนิทานประกอบ เป็นรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงใช้บ่อยๆเพราะทำให้เข้าใจความได้ง่าย
๒. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้ลึกซึ้ง
๓. ใช้สื่อธรรมชาติใกล้ตัว ทำให้รู้จักเข้าใจง่ายเป็นอุปกรณ์การสอน
๔. การสาธิตให้ดูหรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
๕.การใช้ภาษาในความหมายใหม่เป็นเรื่องของความสามารถในโวหารธรรมหรือการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณไหวพริบ
๖. การเลือกคน พระพุทธองค์จะทรงเลือกบุคคลที่เป็นประมุขหรือหัวหน้า แม้ในการแสดงธรรมในท่ามกลางพุทธบริษัท เมื่อมีเป้าหมายจะโปรดบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ทรงทิ้งบุคคลส่วนมาก ทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ในการฟังธรรมตามกำลังของตน
๗. การรู้จักจังหวะและโอกาส เพื่อรอความพร้อมของผู้รับฟังทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และทางจิตใจ
๘. ความยืดหยุ่นในการสอนมีทั้งการยกย่อง การข่ม การปลอบประโลมหรือโอนอ่อนผ่อนตาม
๙. การลงโทษและให้รางวัล เมื่อเห็นว่าบุคคลใดควรยกย่องก็ยกย่อง หรือควรตำหนิก็ตำหนิ
๑๐. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหา ประยุกต์พุทธวิธีในการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

รูปแบบการสอนของพระพุทธเจ้า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทุกครั้ง จะทรงใช้พุทธวิธีการสอนซึ่งมีรูปแบบและวิธีการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทรงเตรียมแผนการสอน พร้อมทั้งศึกษาสภาพแวดล้อม วิเคราะห์ผู้ฟัง มีข้อมูลไว้อย่างพร้อมมูล ตั้งแต่ต้นจนจบ ทรงใช้รูปแบบการสอนครบทั้ง ๔ ประการ ได้แก่
๑. สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือให้ไปเห็นกับตา
๒. สมาทปนา ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติตาม
๓.สมุตเตชนาเร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขันมั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก
๔. สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อและเปรี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการปฏิบัติ
๕ แผนการสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อจะกล่าวถึงแนวทางการวางแผนการสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธองค์จะทรงทำตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้
๑. วิเคราะห์ ผู้ฟังพระพุทธองค์จะทรงศึกษาและเลือกบุคคลอย่างละเอียดดังปรากฏอยู่ในพุทธ กิจที่ทรงใช้ประจำคือในเวลาใกล้สว่างจะทรงตรวจดูสัตว์โลกผู้สมควรได้รับพระ กรุณา
๒. กำหนดรู้ปริบทของผู้ฟัง เช่น เพศ วัย ฐานะ ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมชุมชน จารีตประเพณี อุปนิสัย ระดับสติปัญญา เป็นต้น
๓. กำหนดเนื้อหาสาระที่จะทรงใช้สอน มีขั้นตอนการเลือกธรรมที่จะนำมาสอนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้ฟังย่อมมีความพร้อมมีคุณสมบัติปริบททางสังคมที่ต่างกัน มีอินทรีย์ที่แก่กล้าต่างกัน การกำหนดเนื้อหาสาระที่มีความยากง่ายให้ตรงกับความต้องการของผู้รับฟัง ย่อมมีผลต่อการรับรู้ธรรมะของผู้ฟังทั้งสิ้น
๔. รูปแบบการนำเสนอพระพุทธเจ้าทรงมีรูปแบบในการสอนมากมายเช่นการสนทนาการบรรยายและการตอบปัญหา เป็นต้น
๕. วิธี การนำเสนอพระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการนำเสนอที่หลากหลายเช่นบางครั้งทรงใช้วิธี ยกอุปมาขึ้นเปรียบเทียบบางครั้งใช้วิธีตอบปัญหาบางครั้งใช้วิธีเล่านิทานมา ประกอบเป็นต้น
๖. ลดส่วนที่เกินเพิ่มส่วนที่พร่อง การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทรงมุ่งประโยชน์เกื้อกูล และประโยชน์ต่อชาวโลก โดยอาศัยพระกรุณาธิคุณเป็นที่ตั้ง
๗. การประเมินผล พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการประเมินผลในการแสดงธรรมะทุกครั้ง เมื่อจบการแสดงพระธรรมเทศนาแล้วจะเกิดคำว่า ธัมมาภิสมโย คือการได้บรรลุธรรมตามเหตุปัจจัย ส่วนชนที่อยู่ในที่ประชุมนั้น ก็สามารถบรรลุคุณธรรมมากน้อยต่างกันไปตามความแก่กล้าของอินทรีย์
๘. การติดตามผล พระพุทธองค์จะทรงติดตามผลความคืบหน้า ในเรื่องที่ทรงสอนไป ดังเช่น ทรงมอบให้พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ราธะผู้บวช ในภายแก่ หลังจากบวชแล้วได้ไม่นานพระสารีบุตรนำเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ จึงได้ตรัสถามถึงความเป็นมาของพระราธะซึ่งพระสารีบุตรก็ทูลว่าพระราธะเธอเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายเหลือเกิน

แสดงให้เห็นได้ว่า วิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นทรงใช้พุทธวิธีในการสอนได้อย่างมีระบบ มีผลสัมฤทธิ์ทำให้พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงถาวรมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะทรงมีพระคุณสมบัติในฐานะผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมาย มีวิธีการสอนมีอุบายประกอบการสอน มีรูปแบบและแผนการสอนเป็นอย่างดี

แนวคิดทางการสื่อสาร ตามหลักการแนวคิดทางการสื่อสารแล้วไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ความต้องการอารมณ์ซึ่งอาจหมายถึงตัวเนื้อหาสาระ (Message)ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดความเข้าใจร่วมกัน หรือมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่เนื่องจากมีผู้นิยามความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายทัศนะด้วยกันจึงอาจจะสรุปถึงลักษณะองค์ประกอบ (Communication Elements) ที่สำคัญๆ ของการสื่อสารได้อย่างน้อย ๔ ประการ ดังนี้
๑. ผู้ส่งสาร (Sender) หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิด มีความต้องการ มีความตั้งใจที่จะส่งข้อมูลข่าวสาร มีอารมณ์ มีความรู้สึกนึกคิด มีความคิดเห็นทัศนคติ มีความเชื่อและอื่นๆ ไปยังผู้รับสาร เพื่อก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้รับสารดังนั้นผู้ส่งสารจึงถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งในการเลือกข้อมูลข่าวสาร การเลือก วิธีการ และช่องทางที่จะทำให้สารไปถึงผู้รับสาร รวมทั้งการเลือกกลุ่มผู้รับสาร ผู้ส่งสารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลทั้งการส่งสารผู้ส่งจะส่งสารโดยมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ได้ ข้อมูลข่าวสารอาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการนั่นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร ลักษณะการสื่อสารนั้น ทำผู้ส่งสารจะประสบผลสำเร็จหรือความล้มเหลว สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารบางคนอาจมีบุคลิกน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใสในสายตาของผู้รับสาร บุคคลบางคนอาจไม่เป็นเช่นนั้น มีปัจจัยอยู่
หลายประการที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้รับสาร ซึ่งแมคครอสกีได้กล่าวเอาไว้ ๕ ประการ ได้แก่
๑.๑ ความสามารถ (Competence) ได้แก่ความรู้ความสามารถในข้อมูลข่าวสารและในการส่งสารรวมทั้งความสามารถในการจัดการควบคุมสถานการณ์ในการสื่อสาร
๑.๒คุณลักษณะหรือบุคลิกลักษณะ(Character or Appearance) ได้แก่บุคลิกที่ดีทั้งภายในและภายนอก ผู้ส่งสารจะต้องแสดงถึงความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดีสามารถตัดสินใจกระทำในสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งแสดงลักษณะการให้ความอบอุ่นเป็นที่น่าไว้วางใจ อันจะสามารถสร้างความเชื่อถือ เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้รับสาร
๑.๓ ความสุขุม เยือกเย็น (Composure) หมายถึง ความแคล่วคล่องในการสื่อสารไม่มีอาการที่แสดงถึงความตื่นเต้นหวาดกลัว หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้
๑.๔ การเป็นคนที่สังคมยอมรับหรือเป็นที่รู้จักทางสังคม (Social Ability)ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ได้รับความรู้สึกที่ดีจากผู้รับสารในเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับสารคาดหวังอยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้าหากผู้ส่งสารทำการสื่อสารไม่ดี อาจส่งผลทางลบต่อผู้รับสารในครั้งต่อไป
๑.๕.การเป็นคนเปิดเผย(Extroversion)เกิด ขึ้นโดยการให้ข้อมูลที่เพียงพอและไม่ปิดบังข้อมูลของผู้ส่งสารจะทำให้ผู้รับ สารเกิดความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเองรู้สึกไว้วางใจผู้ส่งสารมีผลทำให้ผู้รับ สารสามารถรับรู้และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
๒. สาร (Message)หมายถึงเรื่องราวอันมีความหมาย ซึ่งถูกแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆก็ตามที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีอยู่ ๓ ประการ คือ
๒.๑ รหัสสาร (Message Codes)คือภาษา(Language) หรือสัญลักษณ์(Signal) ที่ มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแสดงออกแทนความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม และวัตถุประสงค์ต่างๆ ของผู้ส่งสาร รหัสสารอาจถูกแสดงออกมาเป็นสารที่เป็นทั้งภาษาพูดภาษาเขียน รหัสที่ไม่ใช่ภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่ผู้ส่งสารจะเลือกใช้รหัสสารแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับระบบสังคมวัฒนธรรมสภาพแวดล้อมของผู้รับสารซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเข้าใจร่วมกัน
๒.๒ เนื้อหาของสาร (Message Content) หมายถึงเรื่องราวสิ่งต่างๆ ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดหรือส่งไปยังผู้รับสาร แบ่งได้หลายประเภทตามเนื้อหาของสารในรูปแบบต่างๆ มีเนื้อหาเชิงวิชาการ และเนื้อหาไม่ใช่เชิงวิชาการ เป็นต้น
๒.๓ การจัดเรียงลำดับ (Message Treatment) หมายถึง รูปแบบวิธีการในการนำรหัสสารมาเรียบเรียงเพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างของภาษา (Structure) และบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล
๓. ช่องทางการสื่อสาร (Channel or Media) หมายถึง พาหนะตัวนำพาข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารที่ใกล้ตัวที่สุด อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อันได้แก่ การมองเห็นการได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส รวมถึงคลื่นแสงคลื่นเสียงและอากาศที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งลักษณะการสื่อสารไม่ว่าผู้ส่งสารจะใช้กลยุทธ์อะไร การสื่อสารจะเกิดประสิทธิผลได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
๓.๑ความเหมาะสมของสื่อกับผู้ส่งสารได้แก่ความสามารถความชำนาญในการใช้สื่อของผู้ส่งสาร
๓.๒ความเหมาะสมของสื่อกับเนื้อหาของสารได้แก่ ระดับความสามารถของสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนหรือมากน้อยเพียงใด
๓.๓. ความเหมาะสมของสื่อกับผู้รับสาร ได้แก่ ความสามารถที่ผู้รับจะสามารถเข้าถึงสื่อประเภทต่างๆ
๓.๔ ความเหมาะสมของสื่อกับสภาพแวดล้อม ได้แก่การเข้ากันได้ของสื่อกับสภาพแวดล้อมในสถานการณ์ของการสื่อสารที่เป็นอยู่ในขณะนั้นเช่นพื้นที่เป็นภูเขาหรือเป็นเกาะเป็นต้น
๓.๕ ความเหมาะสมของสื่อกับปัจจัยด้านการเงิน ได้แก่ การพิจารณาถึงงบประมาณการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับการเลือกใช้สื่อ
๔. ผู้รับสาร (Receiver) เนื่องจากผู้รับสารเป็นบุคคลที่สำคัญในการสื่อสารแม้การสื่อสารจะเริ่มต้นจากผู้ส่งสาร แต่บุคคลที่จะแสดงว่าการสื่อสารประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็คือผู้รับสาร ถ้าผู้รับสารต้องการรับสารตามที่ผู้ส่งสารส่งในขณะนั้น หรือผู้รับสารมีความรู้ในการที่จะทำความเข้าใจต่อสาร ก็จะทำให้การสื่อสารสำเร็จได้โดยง่าย ในทางตรงข้ามหากผู้รับสารขาดความสนใจ ปิดกั้นการรับข่าวสาร หรือผู้รับที่ไม่สามารถทำความเข้าใจในสารที่ผู้ส่งให้ได้ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นล้มเหลว ดังนั้นการสื่อสารทุกครั้งสิ่งที่ผู้ส่งจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงอย่างมากก็คือผู้รับสาร

ทฤษฎีการโน้มน้าวใจ ถ้าต้องการพัฒนาบุคลากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สำเร็จและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันได้ จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้เรียนรู้ทฤษฎีการโน้มน้าวใจ ซึ่งหมายถึงการสื่อสารเพื่อการจูงใจ ชี้แนะ และชักชวนให้บุคคลทำตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยกระบวนการสื่อสารเป็นเครื่องมือโน้มน้าวใจ มีผู้รับสารเป็นเป้าหมายหลักในการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง ได้แก่ ผู้ส่งสาร สารช่องทาง และผู้รับสาร จะปรากฏอยู่ในทุกสภาพการณ์ที่ทำการสื่อสาร โดยซมอนส์ ได้สรุปความหมายของการโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารของมนุษย์ ที่สร้างขึ้นมา เพื่อให้มีอิทธิพลเหนือผู้อื่น มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ ค่านิยม สามารถสรุปได้ดังนี้
๑. ผู้โน้มน้าวใจมีความตั้งใจที่จะมีอิทธิพลบางประการเหนือผู้ถูกโน้มน้าวใจ
๒. โดยปกติผู้ถูกโน้มน้าวใจ จะมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งและผู้ถูกโน้มน้าวใจจะพยายามชักจูงผู้ถูกโน้มน้าวใจให้ยอมรับทางเลือกที่ตนเสนอ
๓. สิ่งที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการคือการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งด้านอารมณ์ และพฤติกรรม เป็นต้น
เรื่อง : ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

หลักการเผยแผ่พุทธธรรม

รูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมมีอยู่ ๕ ประเภท ได้แก่ การปาฐกถา การบรรยาย การสัมมนา การสัมภาษณ์ และการแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่มี๒ รูปแบบ

(๑) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นช่องทางในการเผยแผ่พุทธธรรมในรูปแบบของ หนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ

(๒) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ พบว่าก่อนที่ท่านจะออกรายการทุกครั้งมีการเตรียมข้อมูลเนื้อหาของธรรมะเพื่อให้สามารถเข้าสู่ผู้ฟังได้อย่างชัดเจน มีการนำเสนอทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ และภาษาบาลี ซึ่งการนำเอาสำนวนหลักพุทธธรรมมาใช้มี๕ ประเภท คือพุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต คำคม คำกลอน และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่ธรรมะ

ความสอดคล้องตามหลักนิเทศศาสตร์ในการเผยแผ่พุทธธรรม พบว่าความนิยมในตัวพระราชปัญญาเมธีในฐานะผู้ส่งสารว่า ท่านมีทักษะ ทัศนคติ ความรู้ที่ดีรู้จักระบบสังคมและวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักใช้รหัสสาร คือ สื่อนำไปสู่กลุ่มผู้ฟังธรรมที่ถูกต้อง นำเสนอเนื้อหาสารสอดคล้องเรียบร้อยตามลำดับ ส่วนปัจจัยความนิยมช่องทางสารนั้นที่ช่วยทำให้ท่านสื่อสารได้ประสบผลสำเร็จ อาศัยช่องทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์บทความต่างๆ และความสอดคล้องผู้รับสารที่ได้รับความนิยม คือการรู้จักความแตกต่างของผู้รับสาร

ปัจจัยความนิยมในการเผยแผ่พุทธธรรม พบว่า ความนิยมในตัวผู้ส่งสารคือพระราชปัญญาเมธีมี๒ ประการ ได้แก่
๑ ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ มีความเคร่งครัดพระธรรมวินัย กล้าเสนอแนวทางเพื่อสังคม มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระศาสนา รู้จักตอบแทนบุญคุณมารดา และเป็นคนเปิดเผย
๒ ปัจจัยด้านคุณภาพ เป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งทางธรรมเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ทางโลกจบปริญญาเอก ความเป็นนักวิชาการเต็มตัวทางศาสนาและปรัชญา มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา และรู้จักวิธีการใช้คนทำงาน ปัจจัยที่ได้รับความนิยมด้านตัวสาร คือท่านรู้จักวิธีการใช้รหัสสื่อสาร เพื่อนำเสนอเนื้อหาของสารการจัดเรียงลำดับความสำคัญของสาร และความแตกต่างของตัวสารที่จะนำเสนอสู่ผู้ฟัง ส่วนปัจจัยความนิยมด้านช่องทางสื่อ มีการพบปะกับนักวิชาการเพื่อเสนอความคิดเห็นรู้จักสังเกตสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมเพื่อที่จะนำเสนอสื่อสารพุทธธรรมเข้าถึงผู้รับได้ และปัจจัยความนิยมด้านผู้รับสารมาจากการยอมรับบทบาทท่านในฐานะนักวิชาการที่มีความรู้ ทำให้ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมะยังสถานที่ต่างๆ ยอมรับว่าท่านรู้จักวิธีการประยุกต์ใช้พุทธธรรมให้เข้ากับยุคสมัยมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้รับสารนักวิชาการ ประชาชนทั่วไป และวัยรุ่นก็ฟังธรรมะของท่านได้และเข้าใจดีทุกคน

พระพุทธศาสนาได้กำเนิดขึ้นมาในชมพูทวีป หรือประเทศอินเดีย ภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกผนวชจากศากยวงศ์ จุดมุ่งหมายของพระองค์ ก็เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยเวลาแสวงหาความรู้ถึง ๖ ปี ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ทรงค้นพบทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช๔๕ ปี จึงได้พระนามว่า พุทธะพระพุทธเจ้าได้ทรงอาศัยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในหมู่สัตว์ เสด็จจาริกไปเพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนที่ตรัสรู้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ในเบื้องต้นนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แก่หมู่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันทำให้ปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ต่อจากนั้น ทรงแสดงธรรมแก่ยสกุลบุตรและสหาย จึงทำให้บังเกิดมีพระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนาจำนวน๖๐ องค์ พระองค์ทรงส่งพระสาวกทั้งหมดไปเผยแผ่ธรรมะในที่ต่างๆ โดยไม่ซ้ำกัน โดยพระพุทธโอวาทว่า “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตายสุขาย เทวมนุสฺสานํ”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย จาก พระพุทธโอวาทนี้เอง ถือเป็นกุญแจเปิดประตูสู่การเดินทางเพื่อการเผยแผ่พุทธธรรมแก่พุทธบริษัท ทั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ช่วยกันทำหน้าที่ในการเผยแผ่และสืบทอดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้แผ่ขยาย ไปทั่วทุกทิศรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีการสืบทอดและพัฒนามาตามยุคตาม สมัยจากพระศาสดามาสู่พระสาวก จากพระสาวกรุ่นต่อรุ่นมาแล้ว วิธีการเผยแผ่พุทธธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาเรื่อย ทำให้พระพุทธศาสนาได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ประเทศไทย รูปแบบและวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยก็ได้รับการสืบทอดและ พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระสงฆ์ไทยถือเป็นรูปแบบ ที่ได้รับการพัฒนาในลักษณะต่างๆ ตามจุดประสงค์ทั้งในแง่การให้ความรู้และเพื่อโน้มน้าวใจเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นเข้าสู่ความเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมคำสอน แล้วนำมาสู่การปฏิบัติ

ให้บังเกิดผลตามความต้องการมีผู้กล่าวเอาไว้ว่าธรรมะเหมือนยาขมหม้อใหญ่ ถึงแม้คนป่วยจะรู้ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค แต่ก็ยากเหลือเกินที่จะดื่มกินเข้าไป เช่นเดียวกันวิธีการสื่อสารธรรมะที่จะทำให้ผู้ฟังอยากรับไปประพฤตินั้น เป็นสิ่งที่ยากเป็นอย่างยิ่ง แต่ด้วยหน้าที่และความตั้งใจ ในการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยดีตลอดมาการเผยแผ่พุทธธรรมที่ เป็นรูปแบบดั้งเดิมของพระสงฆ์ก็คือ การแสดงพระธรรมเทศนาบนธรรมาสน์ พระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่ต้องได้รับการอาราธนาให้แสดงพระธรรมเทศนา มีระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตายตัวแน่นอน รูปแบบดังกล่าวนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะสังคมความซับซ้อนไปด้วยปัญหาต่างๆประกอบกับความเจริญทางเทคโนโลยีการ สื่อสารสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทำ ให้การเผยแผ่ธรรมะของพระสงฆ์ไทยในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งรูปแบบและวิธีการ ตลอดทั้งการประยุกต์เนื้อหาสาระให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันพระสงฆ์ไทยทำ หน้าที่การเผยแผ่พุทธธรรมเพื่อประโยชน์แก่สังคมในยุคปัจจุบันมีรูปแบบและ วิธีการและการนำเสนอที่แตกต่างกัน พระราชปัญญาเมธี(สมชัย กุสลจิตฺโต) ก็เป็นพระนักเผยแผ่ธรรมะรูปหนึ่ง มีรูปแบบและวิธีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างไปจากรูปอื่นๆ เพราะได้แสดงบทบาทในฐานะนักสื่อสารมวลชน มีการบูรณาการเนื้อหาสาระให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอันเนื่องด้วยการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กล้าเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหาของส่วนรวมทั้งทางโลกและทางธรรมะ ที่จะต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้อง การที่พระราชปัญญาเมธีได้แสดงความคิดเห็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การบ้านเมืองมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือในฐานะนักเผยแผ่ที่มีความจำเป็นในการแสดงบทบาทเพื่อชี้แนะทางออกให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง
เรื่อง : ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคหลังพุทธกาล

วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสมัยหลังพุทธกาลนั้น ได้รับการสืบเนื่องจากพุทธบริษัททั้ง ๔ กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาได้มีบทบาทในการนาพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าตามกาลังความสามารถของแต่ละคนแม้พระองค์จะให้สิทธิ์เสรีแก่พุทธบริษัททั้ง ๔ ในการเผยแผ่หลักธรรมก็ตาม

แต่จากข้อเท็จจริงตลอดจนความเหมาะสมแห่งสถานภาพและบุคลิกภาพแล้วสังคมส่วนใหญ่ยังยกย่องพระสงฆ์ให้เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติ และเป็นผู้นาในการเผยแผ่ธรรมะเป็นหลักสมัยหลังพุทธกาลนั้นจะเห็นได้ว่าศาสนากับการเมืองหรือผู้มีอานาจทางด้านการปกครองนั้น อานาจต่างๆ ยังอิงกับธรรมะ ผู้มีอานาจจะไม่ใช้อานาจไปด้วยเหตุผลส่วนตัวหรือโดยยึดถือผลประโยชน์ของผู้ปกครอง หลักการทางศาสนาก็ยอมรับความชอบธรรมของผู้มีอานาจหรือกษัตริย์ในการปกครองประเทศ ส่วนกษัตริย์ก็มีหน้าที่ในการอุปถัมภ์บารุงและคุ้มครองศาสนาดังนั้นศาสนจักรและอาณาจักรจึงไม่มีการแยกกัน แต่ละส่วนก็เป็นเอกเทศของกันและกัน โดยเหตุที่ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ได้ดาเนินมาอย่างแน่นแฟ้นมาโดยตลอด แม้ภายหลังพุทธกาลความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่ ดังจะเห็นได้จาก
หลักฐานในการสังคายนาพระธรรมวินัยแทบทุกครั้งจะต้องมีกษัตริย์ทรงถวายการอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้มีความเด่นชัดยิ่งขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็ยังคงใช้รูปแบบดั้งเดิมอยู่คืออาศัยพระสงฆ์เป็นผู้เผยแผ่ธรรมะ แต่ครั้นมาถึงยุคพระพุทธศาสนาได้แยกออกเป็นหลายนิกาย โดยเฉพาะที่เด่นชัดที่สุดหลังพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้แตกแยกออกเป็น ๒ นิกายใหญ่ๆ คือเถรวาทกับอาจริยวาท หลังจากการทาสังคายนาครั้งที่ ๒ ล่วงมาได้ ๑๐๐ ปี๒๕ จุดเด่นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาจนสามารถนาเอาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารประเทศ และเปลี่ยนการขยายอานาจด้วยศาสตราวุธมาเป็นธรรมาวุธโดยอาศัยพระราชอานาจของพระองค์ในการใช้นโยบายหลักธรรมวินัยในการบริหารประเทศ เช่น

๑. ทรงปกครองบ้านเมืองโดยระบบธรรมาธิปไตย คือใช้หลักพระธรรมวินัยบริหารบ้านเมือง
๒. ทรงอุทิศพระองค์เป็นธรรมทาส โดยทรงหวังผลทั้งในภพนี้และภพหน้า นาประชาชนให้งดเว้นจากมิจฉาชีพ ดารงชีวิตโดยหลักสัมมาอาชีวะ
๓. เสด็จประพาสเพื่อธรรม คือเที่ยวนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาและแนะนาสั่งสอนประชาชนให้รู้และปฏิบัติธรรม
๔. ทรงปฏิวัติสังคมโดยธรรม คือยกเลิกพิธีกรรมต่างๆ ที่มีการเบียดเบียนทาลายล้างห้ามการฆ่าสัตว์บูชายัญ ด้วยกฎ “มา ฆาต” คือห้ามฆ่า แม้ภายในพระราชวังเองก็ห้ามฆ่าสัตว์
๕. ทรงใช้ระบบรัฐสวัสดิการ ด้วยการสร้างโรงพยาบาลขึ้นรักษาคน และโรงพยาบาลรักษาสัตว์ ปลูกสมุนไพรไว้ในส่วนต่างๆ ของประเทศ ขุดบ่อน้า สระน้า สร้างถนนคูคลอง เพื่ออานวยความสะดวกแก่ประชาชน
๖. ให้เลิกพิธีกรรมทุกชนิดที่ไม่เป็นธรรม และได้นาเอาหลักของมงคลสูตร สิงคาลสูตรให้คนปฏิบัติต่อกันตามสมควรแก่ฐานะหน้าที่ เน้นให้ประชาชนรู้จักคุณค่าของธรรมทาน เห็นคุณค่าของการแนะนา การรับการแนะนาสั่งสอนกันด้วยเมตตา กรุณา
๗. ทรงตั้งข้าหลวงแทนพระองค์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยให้ข้าหลวงเหล่านั้นสร้างความรู้สึกต่อประชาชนว่า เป็นเหมือนลูกหลานของตน ให้พยายามสอดส่องดูแลสุขทุกข์ของเขาดุจบิดาเอาใจใส่ดูแลบุตรธิดาของตน การกระทาทุกอย่างทรงเน้นหนักไปที่ผลประโยชน์อันผู้กระทาถึงได้ในภพนี้และภพหน้าผลจากการปกครองโดยระบบธรรมาธิปไตย ทาให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงมีสัมพันธไมตรีกับพระองค์ มีเมืองเป็นอันมากที่ยอมเป็นข้าขอบขันธเสมา เพราะความเคารพศรัทธาต่อพระเจ้าอโศกมหาราช ความสงบสุขจึงได้บังเกิดขึ้น
๑. พระมหาเทวเถรไปยังมหิสมณฑล (คือแว่นแคว้นข้างใต้ลาน้าโคทาวารี อันเป็นประเทศไมสอร์บัดนี้) แห่ง ๑
๒. ให้พระรักขิตเถรไปยังวันวาสีประเทศ (คือแว่นแคว้นกะนะระเหนือ อันเป็นเขตเมืองบอมเบย์บัดนี้) แห่ง ๑
๓. ให้พระธรรมรักขิตเถรไปยังปรันตปะประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนชายทะเลข้างเหนือเมืองบอมเบย์บัดนี้) แห่ง ๑
๔. ให้พระมหาธรรมรักขิตเถรไปยังมหารัฐประเทศ (คือแว่นแคว้นข้างยอดลาน้าโคทาวารี) แห่ง ๑
๕. ให้พระมัชฌันติกะเถรไปยังกัษมิระและคันธาระประเทศ (คือที่เรียกว่าประเทศแคชเมียและอาฟฆานิสถานบัดนี้) แห่ง ๑
๖. ให้พระมัชฌันเถรไปยังหิมวันตประเทศ (คือมณฑลที่ตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย มีเนปาลราฐเป็นต้น) แห่ง ๑
๗.ให้พระมหารักขิตเถรไปยังโยนโลกประเทศ (คือเหล่าเมืองที่พวกโยนกได้มาเป็นใหญ่ อยู่ในแดนประเทศเปอร์เซียบัดนี้) แห่ง ๑
๘.ให้พระมหินทรเถร อันเป็นราชบุตรของพระเจ้าอโศกไปยังลังกาทวีป แห่ง ๑
๙. ให้พระโสณะเถร กับพระอุตรเถร ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ แห่ง ๑๒๗การที่พระสมณทูต คือพระโสณะเถรกับพระอุตรเถรนาพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น ตามเส้นทางของชาวอินเดียซึ่งเข้ามาสู่สุวรรณภูมิมีหลายทางด้วยกัน ทางใดทางหนึ่งคือ

๑. มาทางบก โดยผ่านเบงกอล ข้ามเทือกเขาปาดไก่เข้าสู่พม่าตอนบน
๒.ลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลขึ้นที่อ่าวเมาะตะมะ หรือมาขึ้นที่ฝั่งมะริด ทวาย ตะนาวศรีแล้วเดินบกเข้าสู่ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา โดยผ่านจังหวัดกาญจนบุรี
๓.ลงเรือข้ามมหาสมุทรเข้าช่องแคบมะละกา มาขึ้นบกบนแหลมมลายู หรืออาจจะอ้อมไปเลยเข้าอ่าวญวนไปกัมพูชาและจามปา

การอพยพครั้งใหญ่ๆ ของอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิเกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวกันว่าชาวแคว้นกลิงคะ (แคว้นโอริสาปัจจุบัน) หนีภัยสงครามลงเรือจานวนหลายร้อยลามาสู่สุวรรณภูมิและหมู่เกาะอินโดนีเซีย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาวอินเดียเหล่านี้จะต้องมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตตามมาด้วยเป็นจานวนมาก ดังนั้นตานานพื้นเมืองของชนชาติต่างๆในสุวรรณภูมิที่ชาวอินเดียได้มาสอนความเจริญให้มักจะเล่าถึงปฐมวงศ์ของตนว่าเป็นขัตติยะมาจากอินเดีย ดังนั้นเมื่อพระโสณะและพระอุตตระซึ่งนาพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เป็นคณะแรก อาจเป็นทางเรือหรือไม่ก็ทางบก โดยผ่านเบงกอลข้ามเทือกเขาปาดไก่เข้าสู่พม่าตอนบน แล้วผ่านเข้ามาทางจังหวัดกาญจนบุรี มาสู่นครปฐมอันเป็นเมืองหลวง ซึ่งเรียกชื่อในสมัยนั้นว่า “ทวาราวดี” พระโสณะและ พระอุตตระจึงได้แสดงธรรมเทศนาแก่ชาวสุวรรณภูมิ เพราะอย่างน้อยก็มีชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในถิ่นนี้รู้เรื่องแล้ว จึงช่วยกันเผยแผ่ออกไปถึงชาวพื้นเมือง นั่นก็คือพวกมนุษย์มอญโบราณ และละว้า ซึ่งเป็นพวกแรกในสุวรรณภูมิที่นับถือพระพุทธศาสนาในยุคนั้น๒๘ ดังนั้นชาวไทยจึงได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของตนและนับถือตลอดมาจนกระทั่งบัดนี้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชดังที่กล่าวมานี้ได้รับการพัฒนาจนกลายมาเป็นรูปแบบการเผยแผ่ในปัจจุบัน ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนาก็เป็นแม่แบบของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา กล่าวคือศาสนจักรและอาณาจักรต้องมีความสมัครสมานกลมเกลียวกันอย่างแยกกันไม่ได้ นับได้ว่าวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชมีบทบาทต่อนักเผยแผ่ในรุ่นต่อมาอย่างแท้จริง จนพระพุทธศาสนาได้ดารงมั่นอยู่ในประเทศไทย พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ต่างก็ได้รับอิทธิพลนั้นแล้วเจริญรอยตามแบบอย่างดังกล่าวมาโดยลาดับจนกลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย

เรื่อง : ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคสมัยพุทธกาล

วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคสมัยพุทธกาล จากการศึกษาพบว่าพระพุทธเจ้าทรงมีทั้งหลักการ และหลักปฏิบัติแตกต่างกันไปตามกาลเทศะและบุคคลที่จะทรงสั่งสอน ดังนั้นการพิจารณาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์จึงเริ่มตั้งแต่ คุณสมบัติของผู้สอน ลีลาการสอนและหลักการสอน

คุณสมบัติของผู้สอนหรือนักเผยแผ่ พุทธวิธีในการสอนนั้นต้องเริ่มต้นจากปรัชญาขั้นพื้นฐานอันได้แก่ กัลยาณมิตรและมีสติปัญญาไหวพริบที่ชาญฉลาดเป็นเบื้องต้น จากนั้นต้องประกอบด้วยหลักของนักเผยแผ่กับผู้ฟังหรือผู้สอนกับผู้เรียนที่มีความสัมพันธ์กันในฐานะเป็นกัลยาณมิตรเป็นอันดับต่อไป เพราะในทาง
พระพุทธศาสนาถือว่า ผู้เผยแผ่กับผู้ฟังหรือผู้สอนกับผู้เรียนนั้นต้องประสานสัมพันธ์กัน มีความกรุณาต่อกันโดยเฉพาะในด้านการอบรมสั่งสอนนั้น ย่อมเป็นส่วนประกอบที่สาคัญให้เกิดคุณลักษณะของผู้สอนซึ่งเรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ดังนั้น พระธรรมกถึกหรือนักเผยแผ่พุทธธรรมที่ดีจึงมีลักษณะคุณสมบัติซึ่งเป็นองค์ของกัลยาณมิตร ๗ ประการ ดังนี้
๑. ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในฐานเป็นที่สบายและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม
๒. ครุ เป็นที่เคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย
๓. ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทาให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
๔. วตฺตา จ เป็นนักพูด รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คาแนะนาว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕. วจนกฺขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคา คือพร้อมที่จะรับฟังคาปรึกษา ซักถาม คาเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
๖. คมฺภีรญฺจ กถ กตฺตา เป็นผู้พูดด้วยถ้อยคาลึกซึ้งได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนาในอฐานะ คือไม่แนะนาในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย ๔

ลีลาการสอน การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมมีกถา หรือการสนทนาทั่วไปซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดาเนินไปอย่างสาเร็จผลดี โดยมีองค์ประกอบที่เป็นคุณลักษณะที่เรียกได้ว่า เป็นลีลาในการสอน มี ๔ ประการ คือ
๑. สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด คือจะสอนอะไร ก็ชี้แจงจาแนกแยกแยะอธิบาย และแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นจริงเห็นจัง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา
๒. สมาทปนา ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ คือสิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดทา ก็แนะนาหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า มองเห็นความสาคัญที่จะต้องฝึกฝนบาเพ็ญจนใจยอมรับ อยากลงมือทา หรือนาไปปฏิบัติ
๓. สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า คือปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะ มีกาลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทาให้สาเร็จจงได้ สู้งาน ไม่หวั่นระย่อ ไม่กลัวเหนื่อย ไม่กลัวยาก
๔. สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คือบารุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน โดยชี้ให้เห็นผลดี หรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับและทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสาเร็จยิ่งขึ้นไป ทาให้ผู้ฟังมีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ ๕

หลักการสอน
พระพุทธองค์ได้ตรัสองค์แห่งธรรมกถึก ๕ ประการ คือ
๑. อนุปุพฺพิกถ กล่าวความไปตามลาดับ คือแสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวิชาตามลาดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลาดับ
๒. ปริยายทสฺสาวี ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่าง ๆ ตามแนวเหตุผล
๓. อนุทยต ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือสอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา
๔. น อามิสนฺตโร ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือสอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือสอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น ๖หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อทรงพระดาริที่จะประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์จึงทรงระลึกถึงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕จึงเสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระองค์ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกในโลกคือพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จนท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก และได้ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุพระองค์ทรงประทานอนุญาตให้การอุปสมบท ถือว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาต่อมาพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์หมดทุกรูป และได้ทรงแสดงธรรมแก่สกุลบุตรพร้อมเพื่อนอีก ๕๔ คน จนบรรลุอรหัตผลในกาลต่อมา จึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในขณะนั้น๖๑รูปรวมทั้งพระพุทธองค์ด้วย ดังนั้นพระองค์ทรงส่งพระภิกษุสงฆ์ทั้ง๖๐รูปออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้แยกกันไปในทิศทางต่างๆ ให้ไปรูปเดียว ส่วนพระองค์เองเลือกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ตาบลอุรุเวลาเสนานิคม

การประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเชิงรุกของพระพุทธเจ้าได้เริ่มขึ้นแล้ว ผู้วิจัยจะได้กล่าวถึงรูปแบบวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล โดยสรุปเป็นภาพรวมได้ ๑๐ วิธีคือ
๑. วิธีการเข้าหาผู้นาทางศาสนา การเมืองและทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ออกประกาศพระพุทธศาสนาโดยเริ่มต้นที่ผู้นาศาสนาด้วยการเสด็จไปโปรดพราหมณ์ปัญจวัคคีย์ผู้คงแก่เรียนมีจิตใจที่มุ่งมั่นเต็มเปี่ยมด้วยความปรารถนาว่าจักได้บรรลุธรรมตามพระพุทธองค์จนกระทั่งประสบผลสาเร็จ หลังจากนั้นเสด็จไปโปรดชฏิล๓ พี่น้องซึ่งมีบริวาร ๑,๐๐๐ คน โดยชฎิล ๓ พี่น้องนี้เป็นเจ้าลัทธิใหญ่ที่นิยมการบูชาไฟและเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวแคว้นมคธเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรและแสดงปาฏิหาริย์เพื่อให้ชฎิลกลุ่มนี้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนาจนประสบความสาเร็จได้บรรลุธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุทั้งหมด ๘ ต่อจากนั้นพระองค์เสด็จไปหาผู้นาทางการเมือง คือพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธและข้าทาสบริพารพระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพารพอเห็นว่าชฎิลสามพี่น้องที่ตนนับถือได้ประกาศตนเป็นสาวกของพระพุทธองค์แล้วก็คลายทิฐิมานะและน้อมใจฟังพระธรรมเทศนาโดยความเคารพ ในที่สุดก็ได้ดวงตาเห็นธรรมและหันมานับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันแด่พระสงฆ์โดยมีพระพุทธองค์ทรงเป็นประมุข ๙นอกจากนี้พระองค์ยังทรงแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนเหล่าผู้นาทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อสังคมและประเทศชาติด้วยพระองค์เอง ผู้นาทางเศรษฐกิจที่พระองค์เสด็จไปโปรดคือ ยสกุลบุตรพร้อมบิดามารดา ภรรยาและมิตรสหายรวม ๕๔ คน ๑๐วิธีการเผยแผ่ธรรมะโดยการเข้าหาหัวหน้าผู้เป็นผู้นาทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจเช่นนี้นับเป็นวิธีการที่มีความชาญฉลาดและแยบยลในตัวอย่างมาก เหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นกทั้งฝูง เพราะคนเหล่านี้ต่างมีบทบาทและอิทธิพลต่อสังคมอย่างยิ่งทั้งเป็นผู้ที่มีพวกพ้องและบริวารมาก เมื่อคนเหล่านี้นับถือศาสนาใด ผู้คนในสังคมนั้นก็มักจะหันมานับถือตามไปด้วย จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกของการเผยแผ่ธรรมะนั้นพระองค์ทรงใช้วิธีการนี้มาโดยตลอด ทาให้พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักมีประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธาเข้ามานับถืออย่างมากมายนับได้ว่าเป็นพระปรีชาสามารถของพระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหลายด้วย ผู้นาศาสนานั้นบางทีอาจจะมีความสาคัญหรือทรงอิทธิพลต่อจิตใจของประชาชนมากกว่านักปกครอง เพราะนักปกครองมักควบคุมประชาชนด้วยอาวุธหรือด้วยอานาจ ส่วนผู้นาทางศาสนานั้นควบคุมประชาชนด้วยธรรมะ ฉะนั้นประชาชนจึงมีความมั่นคงเลื่อมใสต่อพระและนักบวช นอกจากความเลื่อมใสศรัทธาแล้วยังช่วยอานวยประโยชน์ในด้านการทานุบารุงพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาอย่างดีด้วยการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ และสร้างวัดวาอารามต่างๆ
๒. วิธีการปฏิวัติหลักคาสอนและหลักความเชื่อบางประการของลัทธิศาสนาดั้งเดิม
พระพุทธเจ้าทรงปฏิวัติทางสังคมชนชั้นที่ชาวชมพูทวีปยึดถือมานาน เช่น ศาสนาพราหมณ์มีข้อบัญญัติทางสังคมหลายด้าน เช่น เรื่องวรรณะ ที่กาหนดให้แต่ละวรรณะมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีการกาหนดให้แต่ละวรรณะยึดถือและปฏิบัติอยู่ในวรรณะของตนเองมิให้สมาคมกับวรรณะอื่นๆ โดยเฉพาะวรรณะศูทรที่ไม่สามารถมีสิทธิ์ในสังคม กาหนดให้วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐสูงสุด อันถือได้ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของวรรณะนั้นๆ พระองค์ตรัสปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง และทรงสอนว่า“บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรมหรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม”๑๑หมายความว่า คนดี หรือชั่วมิใช่ชาติตระกูล แต่ขึ้นอยู่กับการกระทาของผู้นั้น หากทาดีก็เป็นคนดี และหากทาชั่วก็เป็นคนชั่วนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงปฏิเสธทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค คือการหมกมุ่นในกามสุข กับอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนเอง พระองค์ทรงเคยปฏิบัติเช่นนั้นมาก่อนแล้วทรงยืนยันว่าเป็นหนทางที่ผิดไม่ใช่หนทางที่จะนาสัตว์โลกไปสู่ทางบรรลุธรรมได้ ทรงแนะนาให้ดาเนินในทางสายกลางอันได้แก่มรรคมีองค์ ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางปฏิบัติที่ไม่เข้มงวดและไม่หละหลวมเกินไปทรงถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
๓. วิธีการปฏิรูปพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมและลัทธิต่างๆ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์จึงทาให้พระพุทธเจ้าต้องมีความเกี่ยวข้องกับถ้อยคาทางศาสนา ด้วยมีความมุ่งมั่นที่จะประกาศพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงอย่างรวดเร็ว จึงไม่ทรงหักล้างคาสอนหรือถ้อยคาของศาสนาอื่นอย่างทันที แต่พยายามให้กลมกลืนกันไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่รู้ตัวหรือบางทีก็ใช้วิธีการโอนอ่อนผ่อนตาม คาสอนใดถูกต้องดีงามพระองค์ก็ทรงรับรองว่าถูกต้องดีงามเป็นของสากลโดยธรรมชาติ คาสอนของศาสนาพราหมณ์มีอยู่อย่างไร พระองค์ไม่ทรงหักล้าง แต่จะทรงปฏิรูปใหม่นามาใช้ในทางพระพุทธศาสนาเช่น คาว่า พรหม ทางศาสนาพราหมณ์หมายถึง ผู้สร้างโลก แต่พระองค์ทรงเอามาใช้ในความหมายใหม่ หมายถึงมารดาบิดา๑๓ คาสอนใดที่มีความขัดแย้งกับพุทธศาสนาทรงชี้แจงแถลงให้เห็นว่าการปฏิบัติเช่นนั้นไม่ใช่แก่นสารพร้อมทั้งแนะนาแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องให้ เช่น การบูชายัญ ในคาสอนเดิม หมายถึงการฆ่าสัตว์บูชายัญแต่พระองค์ทรงสอนในความหมายใหม่ หมายถึงการบูชามารดาบิดา สมณพราหมณ์ เป็นต้น
๔.วิธีการเสนอหลักคาสอนที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
วิธีการนี้เป็นวิธีที่สืบเนื่องมาจากวิธีการดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น กล่าวคือ เมื่อทรงอธิบายชี้แจงถึงส่วนดีส่วนบกพร่องของศาสนาพราหมณ์แล้ว ได้เสนอหลักการใหม่ที่เป็นหลักคาสอนของพระพุทธศาสนาล้วนๆ ขึ้นแทนที่และเผยแผ่หลักคา สอนที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนเพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติแท้จริงของมนุษย์และสรรพสิ่ง หลักธรรมที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ คือความเป็นของไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ และความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ความไม่คงที่แน่นอนของสรรพสิ่งเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัยกันเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป และหลักอริยสัจ ๔ ถือได้ว่าเป็นหลักหัวใจสาคัญของพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมที่สาคัญครอบคลุมคาสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา กุศลธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนารวมอยู่ในอริยสัจทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงบรรลุธรรมก็ด้วยหลักธรรมข้อนี้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นและดับไปอย่างมีเหตุปัจจัย เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงนามาแสดงเพื่อโปรดสัตว์มากที่สุด
๕. วิธีการปฏิบัติเชิงรุก หรือเยี่ยมเยียนตามบ้าน เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ตลอดการเผยแผ่ธรรมะ ทรงแผ่ข่ายคือพระญาณของพระองค์เพื่อสารวจดูเวไนยสัตว์ที่มีอุปนิสัยแก่กล้าพอที่จะบรรลุธรรมแล้วเสด็จไปเทศนาโปรดถึงบ้าน อันเป็นพระกรณียกิจประจาวันของพระองค์อีกประการหนึ่งด้วยเช่นกัน ผู้ที่ได้รับการเทศนาโปรดเช่นนี้มักจะได้บรรลุธรรมอยู่เสมอ เรียกว่าพุทธกิจ ๕ ประการของพระพุทธเจ้า ได้แก่เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต เวลาสายทรงแสดงธรรม เวลาค่าประทานโอวาท กลางคืนตอบปัญหาเทวดา และเวลาจวนสว่างตรวจดูสรรพสัตว์ผู้ที่สมควรและยังไม่สมควรตรัสรู้
๖. วิธีการบริการชุมชน วิธีการนี้เป็นการเผยแผ่เชิงรุกซึ่งได้ผลมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมอยู่เนืองๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและความเข้าใจอันดีระหว่างชาวบ้านและพระสงฆ์ เช่นการเข้าไปสงเคราะห์ประชาชนในกูฏทันตสูตรพระองค์ได้ทรงเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านโดยวิธีแก้ปัญหาโดยการจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขในสังคม
๗. วิธีการใช้ปาฏิหาริย์ต่างๆ เป็นวิธีการเผยแผ่ที่ใช้ความสามารถพิเศษเข้ามาช่วยโดยมีจุดประสงค์เพื่อปราบปรามคนที่แสดงอาการกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับนับถือหรืออยากลองดีให้สิ้นพยศ การแสดงปาฏิหาริย์นี้ไม่นิยมใช้นักเพราะทรงเล็งเห็นว่าการแสดงฤทธิ์นั้นมีทั้งแง่ดีและไม่ดีในตัวเอง คือผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็ยิ่งยกย่องส่งเสริมมากขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่เลื่อมใสอาจจะดูหมิ่นว่าการแสดงปาฏิหาริย์แบบนี้ไม่เห็นแปลกอะไรเพราะคนที่เรียนวิชา “คันธาริ”๑๙ ก็ สามารถทาได้เช่นเดียวกัน และตรัสว่า “เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้ จึงอึดอัดระอาเกลียดการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์”๒๐ แต่วิธีการที่ทรงโปรดและใช้อยู่เสมอคือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์คือการสอนอย่างธรรมดา อธิบาย ชี้แจง โต้ตอบกันไปมาโดยไม่ต้องมีการใช้ฤทธิ์เดชเข้ามาช่วย เป็นวิธีที่ทาให้คนเข้าถึงสัจธรรมได้ตามพุทธประสงค์และมีความมั่นคงยืนยาวมาถึงปัจจุบัน
๘. วิธีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น
เป็นวิธีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเป็นการเผยแผ่ให้ง่ายมากขึ้นทาให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าผู้เผยแผ่เป็นเสมือนญาติของตนเองจึงเกิดความเต็มใจที่จะรับฟังพระธรรมเทศนาแต่พระพุทธเจ้าทรงห้ามยกพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต และทรงปรับอาบัติทุกกฎแก่พระภิกษุผู้แสดงพุทธพจน์เป็นภาษาสันสกฤต๒๒ทรงอนุญาตในการแสดงธรรมด้วยภาษาของตนเอง เพราะเป็นภาษาสามัญที่ประชาชนจานวนมากสามารถเข้าใจได้ เป็นการเปิดโอกาสให้มวลชนทุกระดับชั้นได้มีโอกาสเข้ามาเลื่อมใสศรัทธา พระพุทธศาสนาจึงแพร่หลายไปสู่มวลชนอย่างรวดเร็วทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับชั้นได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงกัน ตรงกันข้ามกับศาสนาพราหมณ์ที่จากัดสิทธิการศึกษาทั้งยังใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษาต้องห้ามสาหรับคนบางวรรณะ เช่นวรรณะศูทรในการสั่งสอนอีกด้วย
๙. วิธีการเผยแผ่ด้วยบุคลิกภาพ บุคลิกภาพที่ดีนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สา คัญประการหนึ่งของนักเผยแผ่นอกเหนือจากคุณสมบัติด้านคุณธรรม เพราะบุคลิกภาพที่๙. วิธีการเผยแผ่ด้วยบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพที่ดีนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สา คัญประการหนึ่งของนักเผยแผ่นอกเหนือจากคุณสมบัติด้านคุณธรรม เพราะบุคลิกภาพที่สง่างาม น่ามองน่าเลื่อมใสย่อมเป็นเหตุนามาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็นได้ พระพุทธองค์ทรงมีพระวรกายที่สง่างามประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ดังมีจังกีพราหมณ์ชมว่า “พระสมณโคดมมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะพบเห็นยากนัก”๒๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกจากมีความรู้ความสามารถในการเผยแผ่แล้ว คุณสมบัติของนักเผยแผ่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ เพราะนักเผยแผ่ที่ดีนั้นแม้จะไม่ออกปากพูดก็สามารถเผยแผ่พุทธธรรมได้ บุคลิกลักษณะที่ดีงามก็ยังความผ่องใสแห่งจิตใจให้เกิดศรัทธาแก่ผู้ที่พบเห็น
๑๐. วิธีการสนทนา การบรรยายและตอบปัญหา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ยกวิธีสอนของพระพุทธเจ้าไว้ มีหลายแบบหลายอย่างซึ่งผู้วิจัยจะยกมาเพียง ๓ หัวข้อ ที่น่าสังเกตหรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้
๑. แบบสากัจฉา หรือสนทนา วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ทรงใช้บ่อยไม่น้อยกว่าวิธีใดๆโดยเฉพาะในเมื่อผู้มาเฝ้าหรือทรงพบนั้น ยังไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักธรรม ในการสนทนาพระพุทธเจ้ามักจะทรงเป็นฝ่ายถามนาคู่สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด แม้ในหมู่พระสาวก พระองค์ก็ทรงใช้วิธีนี้ไม่น้อย และทรงส่งเสริมให้สาวกสนทนาธรรมกัน อย่างในมงคลสูตรว่า “กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตม การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันอุดม” ดังนี้
๒. แบบบรรยาย วิธีสอนแบบนี้ น่าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจาวันซึ่งมีประชาชน หรือพระสงฆ์จานวนมาก และส่วนมากเป็นผู้มีพื้นความรู้ความเข้าใจ กับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว มาฟังเพื่อหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม และหาความสงบสุขทางจิตใจ นับได้ว่าเป็นคนประเภทและระดับใกล้เคียงกันพอที่จะใช้วิธีบรรยายอันเป็นแบบกว้างๆ ได้ลักษณะพิเศษของพุทธวิธีสอนแบบนี้ที่พบในคัมภีร์บอกว่า ทุกคนที่ฟังพระองค์แสดงธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น แต่ละคนจะรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าตรัสอยู่กับตัวเองโดยเฉพาะ ซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
๓. แบบตอบปัญหา ผู้ที่มาถามปัญหานั้น นอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจในข้อธรรมต่างๆแล้ว โดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น บ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คาสอนทางฝ่ายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคาสอนในลัทธิของตน บ้างก็มาถามเพื่อลองภูมิ บ้างก็เตรียมมา ถามเพื่อข่มปราบให้จน หรือให้ได้รับความอับอาย ในการตอบพระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน ในสังคีติสูตร ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตาม ลักษณะวิธีตอบเป็น ๔ อย่างคือ
๑) เอกังสพยากรณีปัญหา ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่น ถามว่า “จักษุเป็นอนิจจังหรือ” พึงตอบตรงไปได้ทีเดียวว่า “ถูกแล้ว”
๒) ปฏิปุจฉาพยากรณีปัญหา ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่นเขาถามว่า “โสตะก็เหมือนจักษุหรือ” พึงย้อนถามก่อนว่า “ที่ถามนั้นหมายถึงแง่ใด”ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นเครื่องมองเห็น” พึงตอบว่า “ไม่เหมือน” ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นอนิจจัง”จึงควรตอบรับว่า “เหมือน”
๓) วิภัชชพยากรณีปัญหา ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ เช่น เมื่อเขาถามว่า “สิ่งที่เป็นอนิจจัง ได้แก่ จักษุใช่ไหม ? ” พึงแยกความออกตอบว่า “ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น ถึงโสตะ ฆานะฯลฯ ก็เป็นอนิจจัง” หรือปัญหาว่า “พระตถาคตตรัสวาจาซึ่งไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นไหม ? ”
ก็ต้องแยกตอบตามหลักการตรัสวาจา ๖ หรือปัญหาว่าพระพุทธเจ้าทรงติเตียนตบะทั้งหมดจริงหรือ”ก็ต้องแยกตอบว่าชนิดใดติเตียน ชนิดใดไม่ติเตียน ดังนี้เป็นต้น
๔) ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนาผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไป ท่านยกตัวอย่าง เมื่อถามว่า “ชีวะอันใด สรีระก็อันนั้นหรือ ? ” อย่างนี้เป็นคาถามประเภทเกินความจริง ซึ่งถึงอธิบายอย่างไรผู้ถามก็ไม่อาจเข้าใจ เพราะไม่อยู่ในฐานะที่เขาจะเข้าใจได้ พิสูจน์ไม่ได้ ทั้งไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เขาด้วย

เรื่อง : ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

การเผยแผ่ธรรมะ

เพื่อให้เข้าถึงหลักการเผยแผ่ธรรมอันแป็นเกี่ยวกับคาสอนที่เป็นพุทธพจน์หรือเถระ เถรีที่มีความสาคัญยิ่ง โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฏกและตาราอรรถกถา เพื่อให้ศาสนาพุทธได้ธารงยิ่งยืนนาน

กระบวนการเผยแผ่ธรรมะ แนวคิด ทฤษฎี หลักธรรม กระบวนการเผยแผ่ธรรมะ
๑ ความหมายและความสาคัญของการเผยแผ่ธรรมะเชิงรุก การเผยแผ่เชิงรุก หมายถึงการใช้การสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวนาคนเข้าหาธรรม๑ ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติมาจนถึงบัดนี้ นับได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปีเศษแล้ว พระพุทธศาสนาย่อมมีส่วนสาคัญที่สุดในการสร้างรากฐานทางวัฒนธรรมในด้านจิตใจและเป็นแนววิถีชีวิตที่ได้ฝังรากลึกลงในจิตใจของพุทธศาสนิกชนมาในครั้งโบราณกาล โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นรากฐานสาคัญของศิลปวัฒนธรรม และมีพระสงฆ์เป็นผู้อบรมสั่งสอนเผยแผ่หลักธรรมให้แก่ประชาชนเพื่อนาไปประพฤติปฏิบัติตามและอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ดังจะเห็นได้ว่าในการดารงชีวิตนั้นมีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาทั้งสิ้น เช่น การตักบาตรประจาวัน การทาบุญ และฟังธรรมในวันธรรมสวนะ การไหว้พระสวดมนต์ พิธีกรรมต่างๆ จะมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น นับแต่เกิดจนตาย ซึ่งได้แก่งานทาบุญครบรอบวันเกิด งานทาบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน และงานศพ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอยู่เหนือวัฒนธรรมในด้านจิตใจของพุทธศาสนิกชนอยู่ค่อนข้างมาก

๒ ปัจจุบันสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโลกตะวันตก ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัด พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไร้พรมแดน ที่ทาให้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป เพราะชาวโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ประกอบกับการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ทาให้ต้องตกอยู่ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงในทุกด้าน เพื่อความอยู่รอดของสังคมและคนในสังคมนั้น ทาให้ไม่สามารถเข้าถึงสาระสาคัญของชีวิต ละเลยการพัฒนาจิตใจมุ่งเน้นเพียงการพัฒนาทางกายและอารมณ์ เพื่อสนองความต้องการเสพในลักษณะวัตถุนิยมและบริโภคนิยม จึงไม่สามารถพัฒนาคนให้มีจิตซาบซึ้ง เข้าใจและเห็นคุณค่าของธรรมะได้อย่างแจ่มแจ้ง จึงก่อให้เกิดผลร้ายขึ้นในสังคมไทยมากมาย เช่น ผู้คนละทิ้งศีลธรรมลุ่มหลงในอบายมุข เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบกัน เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในทุกวงการทุกระดับ หลงติดอยู่กับการดิ้นรนแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง เพื่อนามาเสพสุขทางวัตถุจนเกิดภาระหนี้สินของครัวเรือนสูง ก่อให้เกิด
มีปัญหาสังคมมากมายตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรมปัญหายาเสพติด ครอบครัวล่มสลาย เป็นต้นเมื่อวัฒนธรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป การเผยแผ่ธรรมะภายในวัดของพระสงฆ์ ดังแต่ก่อนย่อมเกิดปัญหากระทบ อันเนื่องมาจากมีลักษณะเป็นการเผยแผ่ในเชิงรับ ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เน้นวัตถุนิยมและบริโภคนิยม มีเวลาน้อยลง ทาให้ขาดการสนใจต่อพระสงฆ์และเข้าวัดน้อยลง ในเรื่องนี้พระธรรมโกศาจารย์ได้กล่าวให้แง่คิดว่า “การเผยแผ่เชิงรับทาให้เราตามไม่ทันศาสนาอื่น ถ้าขืนเราใช้วิธีตั้งรับต่อไป เราจะสูญเสียพุทธศาสนาให้ศาสนาอื่นๆ ไปทุกๆวัน ในสมัยพระพุทธเจ้า ศาสนาพราหมณ์เผยแผ่แบบเชิงรับ เราจึงพอแข่งขันกับศาสนาพราหมณ์ในอินเดียได้ ต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์ใช้วิธีการเผยแผ่เชิงรุก พระพุทธศาสนาก็ต้องเสียพื้นที่ในอินเดียให้ศาสนาพราหมณ์ เมื่อพระพุทธศาสนาย้ายมาลงหลักปักฐานในเมืองไทย แต่ก็พบคู่แข่งใหม่ คือศาสนาคริสต์ และอิสลาม ศาสนาทั้งสองใช้วิธีการเผยแผ่เชิงรุก

๓ ดังนั้นการเผยแผ่ธรรมะในยุคปัจจุบันจึงไม่สามารถจากัดอยู่แต่เพียงภายในวัดโดยพระสงฆ์เท่านั้น หากแต่พุทธบริษัท อันได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ก็มีส่วนสาคัญในการเผยแผ่ธรรมะ ท่ามกลางสังคมที่มีการแข่งขันสูงต้องการความรวดเร็วฉับไว การที่จะให้ธรรมะเข้าไปถึงจิตใจได้ ต้องทางานในลักษณะเชิงรุก จึงมีการเผยแผ่ในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย พร้อมที่จะนาเสนอถึงที่บ้าน ที่ทางาน หรือที่สาธารณะต่างๆเช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เป็นต้น การใช้สื่อก็เป็นสื่อธรรมะยุคใหม่ ในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น บทเพลงธรรมะ มิวสิควีดีโอธรรมะ สื่อธรรมะทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ทาให้สะดวกสบายในการรับสื่อ โดยไม่ต้องเสียเวลารอให้ถึงวันพระ หรือวันหยุดทางพระพุทธศาสนาแล้วจึงเข้าวัด การจัดกิจกรรมธรรมะในสวนสาธารณะ จึงเป็นการเผยแผ่ธรรมะเชิงรุกในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวคิดที่จะนาธรรมะเข้าสู่จิตใจของประชาชนผู้ที่มาออกกาลังกายในสวนสาธารณะ ซึ่งมีความห่วงใยในสุขภาพของตนเอง ได้มีโอกาสทาบุญคือ การทาบุญใส่บาตร รักษาศีล ฟังธรรมได้ทาความดี มีความสุขกายสบายใจ และชาระล้างจิตใจให้ผ่องใส โดยมีจุดมุ่งหมายที่สาคัญ คือหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาย่อมจะได้รับการถ่ายทอดและซึมซับเข้าสู่จิตใจ ตลอดจนการที่ได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ย่อมจะก่อให้เกิดความประทับใจ และเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในการดาเนินชีวิตต่อไป

เรื่อง: ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย