วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสมัยหลังพุทธกาลนั้น ได้รับการสืบเนื่องจากพุทธบริษัททั้ง ๔ กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาได้มีบทบาทในการนาพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าตามกาลังความสามารถของแต่ละคนแม้พระองค์จะให้สิทธิ์เสรีแก่พุทธบริษัททั้ง ๔ ในการเผยแผ่หลักธรรมก็ตาม
แต่จากข้อเท็จจริงตลอดจนความเหมาะสมแห่งสถานภาพและบุคลิกภาพแล้วสังคมส่วนใหญ่ยังยกย่องพระสงฆ์ให้เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติ และเป็นผู้นาในการเผยแผ่ธรรมะเป็นหลักสมัยหลังพุทธกาลนั้นจะเห็นได้ว่าศาสนากับการเมืองหรือผู้มีอานาจทางด้านการปกครองนั้น อานาจต่างๆ ยังอิงกับธรรมะ ผู้มีอานาจจะไม่ใช้อานาจไปด้วยเหตุผลส่วนตัวหรือโดยยึดถือผลประโยชน์ของผู้ปกครอง หลักการทางศาสนาก็ยอมรับความชอบธรรมของผู้มีอานาจหรือกษัตริย์ในการปกครองประเทศ ส่วนกษัตริย์ก็มีหน้าที่ในการอุปถัมภ์บารุงและคุ้มครองศาสนาดังนั้นศาสนจักรและอาณาจักรจึงไม่มีการแยกกัน แต่ละส่วนก็เป็นเอกเทศของกันและกัน โดยเหตุที่ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ได้ดาเนินมาอย่างแน่นแฟ้นมาโดยตลอด แม้ภายหลังพุทธกาลความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่ ดังจะเห็นได้จาก
หลักฐานในการสังคายนาพระธรรมวินัยแทบทุกครั้งจะต้องมีกษัตริย์ทรงถวายการอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้มีความเด่นชัดยิ่งขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็ยังคงใช้รูปแบบดั้งเดิมอยู่คืออาศัยพระสงฆ์เป็นผู้เผยแผ่ธรรมะ แต่ครั้นมาถึงยุคพระพุทธศาสนาได้แยกออกเป็นหลายนิกาย โดยเฉพาะที่เด่นชัดที่สุดหลังพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้แตกแยกออกเป็น ๒ นิกายใหญ่ๆ คือเถรวาทกับอาจริยวาท หลังจากการทาสังคายนาครั้งที่ ๒ ล่วงมาได้ ๑๐๐ ปี๒๕ จุดเด่นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาจนสามารถนาเอาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารประเทศ และเปลี่ยนการขยายอานาจด้วยศาสตราวุธมาเป็นธรรมาวุธโดยอาศัยพระราชอานาจของพระองค์ในการใช้นโยบายหลักธรรมวินัยในการบริหารประเทศ เช่น
๑. ทรงปกครองบ้านเมืองโดยระบบธรรมาธิปไตย คือใช้หลักพระธรรมวินัยบริหารบ้านเมือง
๒. ทรงอุทิศพระองค์เป็นธรรมทาส โดยทรงหวังผลทั้งในภพนี้และภพหน้า นาประชาชนให้งดเว้นจากมิจฉาชีพ ดารงชีวิตโดยหลักสัมมาอาชีวะ
๓. เสด็จประพาสเพื่อธรรม คือเที่ยวนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาและแนะนาสั่งสอนประชาชนให้รู้และปฏิบัติธรรม
๔. ทรงปฏิวัติสังคมโดยธรรม คือยกเลิกพิธีกรรมต่างๆ ที่มีการเบียดเบียนทาลายล้างห้ามการฆ่าสัตว์บูชายัญ ด้วยกฎ “มา ฆาต” คือห้ามฆ่า แม้ภายในพระราชวังเองก็ห้ามฆ่าสัตว์
๕. ทรงใช้ระบบรัฐสวัสดิการ ด้วยการสร้างโรงพยาบาลขึ้นรักษาคน และโรงพยาบาลรักษาสัตว์ ปลูกสมุนไพรไว้ในส่วนต่างๆ ของประเทศ ขุดบ่อน้า สระน้า สร้างถนนคูคลอง เพื่ออานวยความสะดวกแก่ประชาชน
๖. ให้เลิกพิธีกรรมทุกชนิดที่ไม่เป็นธรรม และได้นาเอาหลักของมงคลสูตร สิงคาลสูตรให้คนปฏิบัติต่อกันตามสมควรแก่ฐานะหน้าที่ เน้นให้ประชาชนรู้จักคุณค่าของธรรมทาน เห็นคุณค่าของการแนะนา การรับการแนะนาสั่งสอนกันด้วยเมตตา กรุณา
๗. ทรงตั้งข้าหลวงแทนพระองค์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยให้ข้าหลวงเหล่านั้นสร้างความรู้สึกต่อประชาชนว่า เป็นเหมือนลูกหลานของตน ให้พยายามสอดส่องดูแลสุขทุกข์ของเขาดุจบิดาเอาใจใส่ดูแลบุตรธิดาของตน การกระทาทุกอย่างทรงเน้นหนักไปที่ผลประโยชน์อันผู้กระทาถึงได้ในภพนี้และภพหน้าผลจากการปกครองโดยระบบธรรมาธิปไตย ทาให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงมีสัมพันธไมตรีกับพระองค์ มีเมืองเป็นอันมากที่ยอมเป็นข้าขอบขันธเสมา เพราะความเคารพศรัทธาต่อพระเจ้าอโศกมหาราช ความสงบสุขจึงได้บังเกิดขึ้น
๑. พระมหาเทวเถรไปยังมหิสมณฑล (คือแว่นแคว้นข้างใต้ลาน้าโคทาวารี อันเป็นประเทศไมสอร์บัดนี้) แห่ง ๑
๒. ให้พระรักขิตเถรไปยังวันวาสีประเทศ (คือแว่นแคว้นกะนะระเหนือ อันเป็นเขตเมืองบอมเบย์บัดนี้) แห่ง ๑
๓. ให้พระธรรมรักขิตเถรไปยังปรันตปะประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนชายทะเลข้างเหนือเมืองบอมเบย์บัดนี้) แห่ง ๑
๔. ให้พระมหาธรรมรักขิตเถรไปยังมหารัฐประเทศ (คือแว่นแคว้นข้างยอดลาน้าโคทาวารี) แห่ง ๑
๕. ให้พระมัชฌันติกะเถรไปยังกัษมิระและคันธาระประเทศ (คือที่เรียกว่าประเทศแคชเมียและอาฟฆานิสถานบัดนี้) แห่ง ๑
๖. ให้พระมัชฌันเถรไปยังหิมวันตประเทศ (คือมณฑลที่ตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย มีเนปาลราฐเป็นต้น) แห่ง ๑
๗.ให้พระมหารักขิตเถรไปยังโยนโลกประเทศ (คือเหล่าเมืองที่พวกโยนกได้มาเป็นใหญ่ อยู่ในแดนประเทศเปอร์เซียบัดนี้) แห่ง ๑
๘.ให้พระมหินทรเถร อันเป็นราชบุตรของพระเจ้าอโศกไปยังลังกาทวีป แห่ง ๑
๙. ให้พระโสณะเถร กับพระอุตรเถร ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ แห่ง ๑๒๗การที่พระสมณทูต คือพระโสณะเถรกับพระอุตรเถรนาพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น ตามเส้นทางของชาวอินเดียซึ่งเข้ามาสู่สุวรรณภูมิมีหลายทางด้วยกัน ทางใดทางหนึ่งคือ
๑. มาทางบก โดยผ่านเบงกอล ข้ามเทือกเขาปาดไก่เข้าสู่พม่าตอนบน
๒.ลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลขึ้นที่อ่าวเมาะตะมะ หรือมาขึ้นที่ฝั่งมะริด ทวาย ตะนาวศรีแล้วเดินบกเข้าสู่ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา โดยผ่านจังหวัดกาญจนบุรี
๓.ลงเรือข้ามมหาสมุทรเข้าช่องแคบมะละกา มาขึ้นบกบนแหลมมลายู หรืออาจจะอ้อมไปเลยเข้าอ่าวญวนไปกัมพูชาและจามปา
การอพยพครั้งใหญ่ๆ ของอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิเกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวกันว่าชาวแคว้นกลิงคะ (แคว้นโอริสาปัจจุบัน) หนีภัยสงครามลงเรือจานวนหลายร้อยลามาสู่สุวรรณภูมิและหมู่เกาะอินโดนีเซีย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาวอินเดียเหล่านี้จะต้องมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตตามมาด้วยเป็นจานวนมาก ดังนั้นตานานพื้นเมืองของชนชาติต่างๆในสุวรรณภูมิที่ชาวอินเดียได้มาสอนความเจริญให้มักจะเล่าถึงปฐมวงศ์ของตนว่าเป็นขัตติยะมาจากอินเดีย ดังนั้นเมื่อพระโสณะและพระอุตตระซึ่งนาพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เป็นคณะแรก อาจเป็นทางเรือหรือไม่ก็ทางบก โดยผ่านเบงกอลข้ามเทือกเขาปาดไก่เข้าสู่พม่าตอนบน แล้วผ่านเข้ามาทางจังหวัดกาญจนบุรี มาสู่นครปฐมอันเป็นเมืองหลวง ซึ่งเรียกชื่อในสมัยนั้นว่า “ทวาราวดี” พระโสณะและ พระอุตตระจึงได้แสดงธรรมเทศนาแก่ชาวสุวรรณภูมิ เพราะอย่างน้อยก็มีชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในถิ่นนี้รู้เรื่องแล้ว จึงช่วยกันเผยแผ่ออกไปถึงชาวพื้นเมือง นั่นก็คือพวกมนุษย์มอญโบราณ และละว้า ซึ่งเป็นพวกแรกในสุวรรณภูมิที่นับถือพระพุทธศาสนาในยุคนั้น๒๘ ดังนั้นชาวไทยจึงได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของตนและนับถือตลอดมาจนกระทั่งบัดนี้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชดังที่กล่าวมานี้ได้รับการพัฒนาจนกลายมาเป็นรูปแบบการเผยแผ่ในปัจจุบัน ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระพุทธศาสนาก็เป็นแม่แบบของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา กล่าวคือศาสนจักรและอาณาจักรต้องมีความสมัครสมานกลมเกลียวกันอย่างแยกกันไม่ได้ นับได้ว่าวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชมีบทบาทต่อนักเผยแผ่ในรุ่นต่อมาอย่างแท้จริง จนพระพุทธศาสนาได้ดารงมั่นอยู่ในประเทศไทย พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ต่างก็ได้รับอิทธิพลนั้นแล้วเจริญรอยตามแบบอย่างดังกล่าวมาโดยลาดับจนกลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย
เรื่อง : ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น