เพื่อให้เข้าถึงหลักการเผยแผ่ธรรมอันแป็นเกี่ยวกับคาสอนที่เป็นพุทธพจน์หรือเถระ เถรีที่มีความสาคัญยิ่ง โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฏกและตาราอรรถกถา เพื่อให้ศาสนาพุทธได้ธารงยิ่งยืนนาน
กระบวนการเผยแผ่ธรรมะ แนวคิด ทฤษฎี หลักธรรม กระบวนการเผยแผ่ธรรมะ
๑ ความหมายและความสาคัญของการเผยแผ่ธรรมะเชิงรุก การเผยแผ่เชิงรุก หมายถึงการใช้การสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวนาคนเข้าหาธรรม๑ ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติมาจนถึงบัดนี้ นับได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปีเศษแล้ว พระพุทธศาสนาย่อมมีส่วนสาคัญที่สุดในการสร้างรากฐานทางวัฒนธรรมในด้านจิตใจและเป็นแนววิถีชีวิตที่ได้ฝังรากลึกลงในจิตใจของพุทธศาสนิกชนมาในครั้งโบราณกาล โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นรากฐานสาคัญของศิลปวัฒนธรรม และมีพระสงฆ์เป็นผู้อบรมสั่งสอนเผยแผ่หลักธรรมให้แก่ประชาชนเพื่อนาไปประพฤติปฏิบัติตามและอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ดังจะเห็นได้ว่าในการดารงชีวิตนั้นมีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาทั้งสิ้น เช่น การตักบาตรประจาวัน การทาบุญ และฟังธรรมในวันธรรมสวนะ การไหว้พระสวดมนต์ พิธีกรรมต่างๆ จะมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น นับแต่เกิดจนตาย ซึ่งได้แก่งานทาบุญครบรอบวันเกิด งานทาบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน และงานศพ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอยู่เหนือวัฒนธรรมในด้านจิตใจของพุทธศาสนิกชนอยู่ค่อนข้างมาก
๒ ปัจจุบันสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโลกตะวันตก ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัด พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไร้พรมแดน ที่ทาให้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป เพราะชาวโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ประกอบกับการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ทาให้ต้องตกอยู่ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงในทุกด้าน เพื่อความอยู่รอดของสังคมและคนในสังคมนั้น ทาให้ไม่สามารถเข้าถึงสาระสาคัญของชีวิต ละเลยการพัฒนาจิตใจมุ่งเน้นเพียงการพัฒนาทางกายและอารมณ์ เพื่อสนองความต้องการเสพในลักษณะวัตถุนิยมและบริโภคนิยม จึงไม่สามารถพัฒนาคนให้มีจิตซาบซึ้ง เข้าใจและเห็นคุณค่าของธรรมะได้อย่างแจ่มแจ้ง จึงก่อให้เกิดผลร้ายขึ้นในสังคมไทยมากมาย เช่น ผู้คนละทิ้งศีลธรรมลุ่มหลงในอบายมุข เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบกัน เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในทุกวงการทุกระดับ หลงติดอยู่กับการดิ้นรนแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง เพื่อนามาเสพสุขทางวัตถุจนเกิดภาระหนี้สินของครัวเรือนสูง ก่อให้เกิด
มีปัญหาสังคมมากมายตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรมปัญหายาเสพติด ครอบครัวล่มสลาย เป็นต้นเมื่อวัฒนธรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป การเผยแผ่ธรรมะภายในวัดของพระสงฆ์ ดังแต่ก่อนย่อมเกิดปัญหากระทบ อันเนื่องมาจากมีลักษณะเป็นการเผยแผ่ในเชิงรับ ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เน้นวัตถุนิยมและบริโภคนิยม มีเวลาน้อยลง ทาให้ขาดการสนใจต่อพระสงฆ์และเข้าวัดน้อยลง ในเรื่องนี้พระธรรมโกศาจารย์ได้กล่าวให้แง่คิดว่า “การเผยแผ่เชิงรับทาให้เราตามไม่ทันศาสนาอื่น ถ้าขืนเราใช้วิธีตั้งรับต่อไป เราจะสูญเสียพุทธศาสนาให้ศาสนาอื่นๆ ไปทุกๆวัน ในสมัยพระพุทธเจ้า ศาสนาพราหมณ์เผยแผ่แบบเชิงรับ เราจึงพอแข่งขันกับศาสนาพราหมณ์ในอินเดียได้ ต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์ใช้วิธีการเผยแผ่เชิงรุก พระพุทธศาสนาก็ต้องเสียพื้นที่ในอินเดียให้ศาสนาพราหมณ์ เมื่อพระพุทธศาสนาย้ายมาลงหลักปักฐานในเมืองไทย แต่ก็พบคู่แข่งใหม่ คือศาสนาคริสต์ และอิสลาม ศาสนาทั้งสองใช้วิธีการเผยแผ่เชิงรุก
๓ ดังนั้นการเผยแผ่ธรรมะในยุคปัจจุบันจึงไม่สามารถจากัดอยู่แต่เพียงภายในวัดโดยพระสงฆ์เท่านั้น หากแต่พุทธบริษัท อันได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ก็มีส่วนสาคัญในการเผยแผ่ธรรมะ ท่ามกลางสังคมที่มีการแข่งขันสูงต้องการความรวดเร็วฉับไว การที่จะให้ธรรมะเข้าไปถึงจิตใจได้ ต้องทางานในลักษณะเชิงรุก จึงมีการเผยแผ่ในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย พร้อมที่จะนาเสนอถึงที่บ้าน ที่ทางาน หรือที่สาธารณะต่างๆเช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เป็นต้น การใช้สื่อก็เป็นสื่อธรรมะยุคใหม่ ในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น บทเพลงธรรมะ มิวสิควีดีโอธรรมะ สื่อธรรมะทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ทาให้สะดวกสบายในการรับสื่อ โดยไม่ต้องเสียเวลารอให้ถึงวันพระ หรือวันหยุดทางพระพุทธศาสนาแล้วจึงเข้าวัด การจัดกิจกรรมธรรมะในสวนสาธารณะ จึงเป็นการเผยแผ่ธรรมะเชิงรุกในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวคิดที่จะนาธรรมะเข้าสู่จิตใจของประชาชนผู้ที่มาออกกาลังกายในสวนสาธารณะ ซึ่งมีความห่วงใยในสุขภาพของตนเอง ได้มีโอกาสทาบุญคือ การทาบุญใส่บาตร รักษาศีล ฟังธรรมได้ทาความดี มีความสุขกายสบายใจ และชาระล้างจิตใจให้ผ่องใส โดยมีจุดมุ่งหมายที่สาคัญ คือหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาย่อมจะได้รับการถ่ายทอดและซึมซับเข้าสู่จิตใจ ตลอดจนการที่ได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ย่อมจะก่อให้เกิดความประทับใจ และเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในการดาเนินชีวิตต่อไป
เรื่อง: ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น