หลักของภาวนา

พยายามที่จะรู้กายที่เคลื่อนไหวเจตนาการเคลื่อนไหวนี้ต้องเจตนาทำ ค้องใส่ใจ แต่สิ่งที่ทำให้หลงจากการเคลื่อนไหวคือความคิด แต่เราก็พยายามที่จะรู้แล้วก็กลับมา อย่าเข้าไปในความคิด นอกจากความคิดแล้ว อาจจะปวดเมื่อย อาจจะเกิดความง่วงเหงาหาวนอน สิ่งเหล่านั้นเหมือนกับว่ามันมาให้เราเห็น ไม่ใช่มันมาให้เราจำนนต่อมัน เมื่อสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นเราก็รู้ กลับมากำหนดที่กายเหมือนเดิม ตามหลักที่เรียกว่า กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา เป็นถาษา แต่ลักษณะของการดูคือดูเรื่อยไปเราไม่ได้ปฏิเสธ อะไรที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ เราจะต้องศึกษา แล้วก็อย่าไปกับมัน เป็นแล้วก็กลับมา มากำหนดรู้อยู่ที่เดิม วิธีนี้คือพยายามจะให้รู้สึกไม่ใช่ไปอยู่กับความสงบ เราไม่ต้องไปเรียกร้องความสงบ และอย่าเพิ่งไปเอาผิดเอาถูก มันสงบหรือไม่สงบก็ชั่งมัน อย่าเข้าไปหลง ให้เห็นมัน เมื่อมันเกิดความสงบเราก็กำหนดรู้ แต่ไม่เข้าไปอยู่ในความสงบ เมื่อคิดฟุ้งซ่านเราก็อย่าไปเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เราเห็นแล้วเราก็กลับมา ความรู้ตัวมันจะตัดได้ทุกอย่าง หลักมันก็อยู่ตรงนี้

บางทีนักปฏิบัติพอทำอะไรลงไป ก็ต้องการความสงบอันนี้ไม่ให้สงบ ให้รู้อยู่เสมอ เจตนาที่จะรู้อยู่เสมอ นี่ละวิธีอันนี้เขาเรียกว่ามาดู ไม่ใช่เข้าไปดู เมื่อเราตั้งหลักดูก็จะเกิดการเห็นขึ้นมา เมื่อเราไปอยู่ก็จะเข้าไปเป็น เป็นผู้สงบ เป็นผู้ไม่สงบ เป็นเวทนา เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นผิด เป็นถูก แต่ถ้าเราดูก็จะไม่เป็นอะไร จะอยู่เหนือทุกอย่าง เราจะต้องตั้งหลักเป็นผู้ดู ขยันรู้อยู่เสมอ ขยันที่จะรู้สึกอยู่เสมอ อันนี้เรียกว่าภาวนา ภาวนาไม่ใช่นั่งสงบ 

หลักการของภาวนาคือขยันรู้อยู่เสมอ เมื่อรู้อยู่เสมออะไรเกิดขึ้นมาก็เป็นเรื่องที่รู้อยู่เสมอ ไม่มีผิดไม่มีถูก มีแต่รู้ มีแต่เห็น แล้วก็กลับมา กลับมาอันนี้ มารู้สิ่งที่เราต้องการ

หลวงพ่อคําเขียน สุวณฺโณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น