รูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมมีอยู่ ๕ ประเภท ได้แก่ การปาฐกถา การบรรยาย การสัมมนา การสัมภาษณ์ และการแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่มี๒ รูปแบบ
(๑) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นช่องทางในการเผยแผ่พุทธธรรมในรูปแบบของ หนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ
(๒) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ พบว่าก่อนที่ท่านจะออกรายการทุกครั้งมีการเตรียมข้อมูลเนื้อหาของธรรมะเพื่อให้สามารถเข้าสู่ผู้ฟังได้อย่างชัดเจน มีการนำเสนอทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ และภาษาบาลี ซึ่งการนำเอาสำนวนหลักพุทธธรรมมาใช้มี๕ ประเภท คือพุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต คำคม คำกลอน และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่ธรรมะ
ความสอดคล้องตามหลักนิเทศศาสตร์ในการเผยแผ่พุทธธรรม พบว่าความนิยมในตัวพระราชปัญญาเมธีในฐานะผู้ส่งสารว่า ท่านมีทักษะ ทัศนคติ ความรู้ที่ดีรู้จักระบบสังคมและวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักใช้รหัสสาร คือ สื่อนำไปสู่กลุ่มผู้ฟังธรรมที่ถูกต้อง นำเสนอเนื้อหาสารสอดคล้องเรียบร้อยตามลำดับ ส่วนปัจจัยความนิยมช่องทางสารนั้นที่ช่วยทำให้ท่านสื่อสารได้ประสบผลสำเร็จ อาศัยช่องทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์บทความต่างๆ และความสอดคล้องผู้รับสารที่ได้รับความนิยม คือการรู้จักความแตกต่างของผู้รับสาร
ปัจจัยความนิยมในการเผยแผ่พุทธธรรม พบว่า ความนิยมในตัวผู้ส่งสารคือพระราชปัญญาเมธีมี๒ ประการ ได้แก่
๑ ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ มีความเคร่งครัดพระธรรมวินัย กล้าเสนอแนวทางเพื่อสังคม มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระศาสนา รู้จักตอบแทนบุญคุณมารดา และเป็นคนเปิดเผย
๒ ปัจจัยด้านคุณภาพ เป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งทางธรรมเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ทางโลกจบปริญญาเอก ความเป็นนักวิชาการเต็มตัวทางศาสนาและปรัชญา มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา และรู้จักวิธีการใช้คนทำงาน ปัจจัยที่ได้รับความนิยมด้านตัวสาร คือท่านรู้จักวิธีการใช้รหัสสื่อสาร เพื่อนำเสนอเนื้อหาของสารการจัดเรียงลำดับความสำคัญของสาร และความแตกต่างของตัวสารที่จะนำเสนอสู่ผู้ฟัง ส่วนปัจจัยความนิยมด้านช่องทางสื่อ มีการพบปะกับนักวิชาการเพื่อเสนอความคิดเห็นรู้จักสังเกตสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมเพื่อที่จะนำเสนอสื่อสารพุทธธรรมเข้าถึงผู้รับได้ และปัจจัยความนิยมด้านผู้รับสารมาจากการยอมรับบทบาทท่านในฐานะนักวิชาการที่มีความรู้ ทำให้ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมะยังสถานที่ต่างๆ ยอมรับว่าท่านรู้จักวิธีการประยุกต์ใช้พุทธธรรมให้เข้ากับยุคสมัยมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้รับสารนักวิชาการ ประชาชนทั่วไป และวัยรุ่นก็ฟังธรรมะของท่านได้และเข้าใจดีทุกคน
พระพุทธศาสนาได้กำเนิดขึ้นมาในชมพูทวีป หรือประเทศอินเดีย ภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกผนวชจากศากยวงศ์ จุดมุ่งหมายของพระองค์ ก็เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยเวลาแสวงหาความรู้ถึง ๖ ปี ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ทรงค้นพบทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช๔๕ ปี จึงได้พระนามว่า พุทธะพระพุทธเจ้าได้ทรงอาศัยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในหมู่สัตว์ เสด็จจาริกไปเพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนที่ตรัสรู้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ในเบื้องต้นนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แก่หมู่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันทำให้ปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ต่อจากนั้น ทรงแสดงธรรมแก่ยสกุลบุตรและสหาย จึงทำให้บังเกิดมีพระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนาจำนวน๖๐ องค์ พระองค์ทรงส่งพระสาวกทั้งหมดไปเผยแผ่ธรรมะในที่ต่างๆ โดยไม่ซ้ำกัน โดยพระพุทธโอวาทว่า “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตายสุขาย เทวมนุสฺสานํ”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย จาก พระพุทธโอวาทนี้เอง ถือเป็นกุญแจเปิดประตูสู่การเดินทางเพื่อการเผยแผ่พุทธธรรมแก่พุทธบริษัท ทั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ช่วยกันทำหน้าที่ในการเผยแผ่และสืบทอดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้แผ่ขยาย ไปทั่วทุกทิศรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีการสืบทอดและพัฒนามาตามยุคตาม สมัยจากพระศาสดามาสู่พระสาวก จากพระสาวกรุ่นต่อรุ่นมาแล้ว วิธีการเผยแผ่พุทธธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาเรื่อย ทำให้พระพุทธศาสนาได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ประเทศไทย รูปแบบและวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยก็ได้รับการสืบทอดและ พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระสงฆ์ไทยถือเป็นรูปแบบ ที่ได้รับการพัฒนาในลักษณะต่างๆ ตามจุดประสงค์ทั้งในแง่การให้ความรู้และเพื่อโน้มน้าวใจเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นเข้าสู่ความเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมคำสอน แล้วนำมาสู่การปฏิบัติ
ให้บังเกิดผลตามความต้องการมีผู้กล่าวเอาไว้ว่าธรรมะเหมือนยาขมหม้อใหญ่ ถึงแม้คนป่วยจะรู้ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค แต่ก็ยากเหลือเกินที่จะดื่มกินเข้าไป เช่นเดียวกันวิธีการสื่อสารธรรมะที่จะทำให้ผู้ฟังอยากรับไปประพฤตินั้น เป็นสิ่งที่ยากเป็นอย่างยิ่ง แต่ด้วยหน้าที่และความตั้งใจ ในการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยดีตลอดมาการเผยแผ่พุทธธรรมที่ เป็นรูปแบบดั้งเดิมของพระสงฆ์ก็คือ การแสดงพระธรรมเทศนาบนธรรมาสน์ พระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่ต้องได้รับการอาราธนาให้แสดงพระธรรมเทศนา มีระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตายตัวแน่นอน รูปแบบดังกล่าวนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะสังคมความซับซ้อนไปด้วยปัญหาต่างๆประกอบกับความเจริญทางเทคโนโลยีการ สื่อสารสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทำ ให้การเผยแผ่ธรรมะของพระสงฆ์ไทยในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งรูปแบบและวิธีการ ตลอดทั้งการประยุกต์เนื้อหาสาระให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันพระสงฆ์ไทยทำ หน้าที่การเผยแผ่พุทธธรรมเพื่อประโยชน์แก่สังคมในยุคปัจจุบันมีรูปแบบและ วิธีการและการนำเสนอที่แตกต่างกัน พระราชปัญญาเมธี(สมชัย กุสลจิตฺโต) ก็เป็นพระนักเผยแผ่ธรรมะรูปหนึ่ง มีรูปแบบและวิธีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างไปจากรูปอื่นๆ เพราะได้แสดงบทบาทในฐานะนักสื่อสารมวลชน มีการบูรณาการเนื้อหาสาระให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอันเนื่องด้วยการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กล้าเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหาของส่วนรวมทั้งทางโลกและทางธรรมะ ที่จะต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้อง การที่พระราชปัญญาเมธีได้แสดงความคิดเห็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การบ้านเมืองมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือในฐานะนักเผยแผ่ที่มีความจำเป็นในการแสดงบทบาทเพื่อชี้แนะทางออกให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง
เรื่อง : ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น