วิธีบริหารจิต



หากมีร่างกายที่แข็งแรง แต่จิตใจไม่เข้มแข็งคืออ่อนแอไม่มีจุดยึด ปล่อยให้ใจเลื่อนลอยไปในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เมื่อไปพบสิ่งที่ไม่ปรารถนาก็มีความทุกข์ใจ ถ้าไปพบในสิ่งที่ปรารถนาก็มีความสุขใจ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ สุขใจนั้นถือว่าเกิดชั่วครั้ง ชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความสุขใจให้ยั่งยืนหรือเป็นความสุขที่ยิ่งยิ่งขึ้นนั้น เราก็ต้องบริหารจิตเหมือนกัน

การบริหารจิต ใจที่เราจะบริหารได้ เป็นไปเพื่อให้เป็นใจที่เข้มแข็งก็ต้องเป็นใจที่ได้รับการฝึก ได้รับการอบรมต้องมีธรรมเป็นเครื่องฝึก ฉะนั้นในปัจจุบันนี้บรรดาท่านทั้งหลายก็มักจะแสวงหาธรรมะอันเป็นเครื่องยังจิตใจให้เข้มแข็ง ก็มีการจัดอยู่หลายแห่ง หลายวัด หลายสถานที่ ที่มีการอบรมทางด้านจิตใจโดยเฉพาะที่วัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก ได้สร้างธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่9 เพื่อให้เป็นศูนย์รวมในการที่จะให้มาร่วมกันบริหารใจ

บริหารกายนั้นอยู่ที่ไหนก็บริหารกันได้ แต่บริหารใจจะว่าให้มาบริหารที่ใดที่หนึ่งนั้นก็หาได้ไม่ คือถ้าสามารถรักษาใจของตัวเองให้อยู่ในความถูกต้องต่อหลักธรรมคำสอน  ใจของเราก็จะมีความสุขแต่โดยมากมักให้เป็นสถานที่เหมาะต่อการเข้าไปฝึกจิต ฝึกใจ มีการปฏิบัติธรรม บริหารใจให้มีความสุขอันเกิดจากการบริหารนั้น นั่นก็ถือว่าคือหลักในพุทธศาสนาคือ สติปัฏฐาน 4 แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการใช้สติเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาในกาย เวทนา จิต และธรรม อย่างถูกต้อง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น