มหาสติปัฎฐาน 4

มหาสติปัฎฐาน 4
หนังสือ มหาสติปัฎฐาน 4
พระมหาสติปัฏฐาน เป็นถนนใหญ่สำหรับเข้าไปสู่ธรรมนครอันประเสริฐ ผู้ที่ปรารถนาจะเข้าสู่ธรรมนครนั้นจะต้องเดินไปตามถนนใหญ่คือ มหาสติปัฎฐานนี้เท่านั้น จึงจะบรรลุโลกุตรธรรมเข้าถึงธรรมนครได้ หากว่าเดินไปในทางสายอื่นก็ดี หรือว่าเดินไปในถนนคือพระมหาสติปัฎฐานนี้ แต่ฟั่นเฟือนหลงใหล หรือตกเหวตายไปเสียในขณะกำลังเดินไปก็ดี อย่างนี้ก็ย่อมไม่มีโอกาสที่จะบรรลุถึงธรรมนครได้

พระมหาสติปัฏฐานสูตร
ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ทางนีเป็นทางเอก เป็นทางให้เกิดความบริสุทธิ์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นทางระงับเสียซึ่งความเศร้าโศกเสียใจพิไรรำพัน เป็นทางให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกขโทมนัส เป็นทางให้ได้ซึ่งธรรมที่ควรรู้อย่างยิ่ง เป็นทางให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ทางเอกนี้คือสติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน 4 มีอะไรบ้าง? สติปัฏฐานทั้ง 4 ข้อ
  1. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกาย มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
  2. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่ มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา แะโทมนัสในโลกนี้เสียได้
  3. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น จิตในจิต อยู่ มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา แบะโทมนัสในโลกนี้เสียได้
  4. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกนี้เสียได้
ฝึกมหาสติปัฎฐาน 4 ติดตามการเกิดดับของจิตให้ได้ทุกขณะ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดจงตั้งกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ณ ที่นั่น เมื่ออยู่ในความรู้สึกอย่างไร จงตั้งเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน ณ ความรู้สึกนั้น เมื่ออยู่ในสภาพจิตอย่างไรจงตั้งจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ณ สภาพนั้นเมื่อเผชิญกับสภาวธรรมใด จงตั้งธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน ณ สภาวะนั้น ฝีกให้สติ และสัมปชัญญะคอยกำกับบทบาททุกขณะของปัจจุบัน ให้รู้เท่าทันให้รู้ท่วงที ให้รู้อย่างไม่ยินดียินร้าย

ให้รู้อย่างหมอที่กำลังตรวจคนไข้ ให้รู้อย่างผู้พิพากษากำลังวินิจฉัยคดีว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ กำลังรู้สึกอย่างไรอยู่ กำลังมีสภาพจิตเป็นเช่นไร กำลังเผชิญกับสภาวะธรรมอะไร เมื่อกระแสแห่งกิเลสตัณหาอุปาทานกำลังเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา จงเพียรพยายามอย่าท้อถอยแม้แต่ก้าวเดียวแม้แต่ขณะจิตเดียวที่จะสำรวจครวจดูสติสัมปชัญญะ ว่าได้เจริญงอกงามมีประสิทธิภาพเพียงพอ แก่การปฏิบัติธรรมหรือยังจนกว่าความรู้ความเข้าใจจะถึงจุดอิ่มตัว ก็จักหลุดพ้นจากอิทธิพลของกิเลสตัณหาอุปาทานได้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น