- สติ (สติสัมโพชฌงค์) การมีสติรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
- ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นให้เห็นตามความเป็นจริง ว่าตกอยู่ใต้กฏของไตรลักษณ์ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
- วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร ใจที่กล้าหาญเพียรต่อการพิจารณาธรรมในข้อ 2
- ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มเอิบใจ อันเป็นผลมาจากวิริยะในข้อ 3 ทำให้เข้าใจความเป็นจริง
- ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
- สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
- อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ ๗
โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ หมายถึง ธรรมหรือข้อปฏิบัติเพื่อยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ กล่าวคือ ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์หรือการตรัสรู้ อันมี ๗ ประการ ซึ่งเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามก็ดำเนินไปตามหลักอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบันธรรม อันเป็นไปดังนี้
ป้ายกำกับ:
สาระธรรม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น