มรรคมีองค์ 8


หนทางแห่งธรรมะ อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ หรือที่เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์แปด เป็นแนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

จิตที่ดำเนินไปในเส้นทางมหาสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด ... ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมเดินไปพร้อมกัน ธรรมจักรย่อมหมุนไป ตัดกระแสแห่งวัฏฏสงสาร เพื่อถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นสภาพสิ้นทุกข์ ไม่มีความกังวล พระพุทธองค์ ตรัสเปรียบเทียบว่า หม้อน้ำที่ไม่ฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไป ได้ง่าย หม้อน้ำที่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไปได้ยากฉันใด จิตที่ไม่มี ฐานรองรับ ย่อมตกไปในที่ต่ำได้ง่าย ส่วนจิตที่มีฐานรองรับ ย่อมตกไปที่ต่ำได้ยากฉันนั้น...

มรรค ๘ คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดด้วยกัน คือ
หมวดศีล หมายถึงการมีชีวิตอยู่ในศีลธรรม คือเว้นจากการกระทำที่เป็นภัยต่อผู้อื่น
หมวดสมาธิ หมายถึงการทำความดีสามารถควบคุมจิตของตนเองได้
หมวดปัญญา หมายถึงมีความรู้แจ้ง หรือปัญญาที่ช่วยในการขจัดกิเลสที่ทับถมกันอยู่ภายในให้หลุดลอกออกไป

  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ถูกต้องและบริสุทธิ์ สนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
  4. สัมมากัมมันตะ คือ ทำการชอบ หรือการงานชอบ หมายถึงความบริสุทธิ์ทางกายกรรมทั้งหมด หากการกระทำนั้นเป็นภัยเป็นที่เดือดร้อน รบกวนความสงบสุข และความสมัครสมานสามัคคีของผู้อื่น การกระทำนั้นก็เป็นการก้เป็นการกระทำที่ไม่บริสุทธิ์ และมันจะทำให้ตัวผู้กระทำเองเดือดร้อนไปด้วยในเวลาเดียวกัน
  5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ถ้าการเลี้ยงชีพนั้นเป็นภัยต่อผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นต้องเจ็บปวด แม้จะหาเงินทองได้มากจากอาชีพนั้น อาชีพนั้นก็มิใช่สัมมาอาชีวะ
  6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
  7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ ได้แก่การระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตเป็นเพียงความทรงจำ และอนาคตก็เป็นเพียงความปรารถนา ความกลัวหรือความคาดหวัง ฉะนั้นสัมมาสติจึงเป็นการมีสติอยู่กับสิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอย่างที่มันเป็น ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรในขณะนี้ ท่านก็มีสติอยู่กับมัน การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติจิตจะต้องเป็นจิตที่มีสัมมาสมาธิ คือจิตที่ตั้งมั่นในทางที่ถูกต้องเราจึงจะสามารถไปถึงจุดหมายปลายทางคือ ความหลุดพ้นได้
    อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

อริยมรรคมีองค์ ๘ คืออะไรบ้าง
๑. เห็นถูกต้อง คือ เห็นตามอริยสัจ ๔ 
๒. คิดถูกต้อง  คือ ใจบริสุทธิ์ เป็นอิสระจากอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เป็นไปเพื่อความสุข ความเมตตา  ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
๓. พูดถูกต้อง คือ พูดในสิ่งที่เป็นจริง เป็นประโยชน์ ถูกกาละเทศะ สุภาพและอ่อนโยน ด้วยจิตเมตตา และหวังดี
๔. ทำถูกต้อง คือ มีเมตตา(ไม่ฆ่าสัตว์) ซื่อสัตย์(ไม่ลักทรัพย์) ให้ทาน สำรวมในคู่ของตน 
๕. อาชีพบริสุทธิ์ เมื่อเห็นถูกต้อง คิดถูกต้อง พูดถูกต้อง ทำถูกต้อง อาชีพย่อมบริสุทธิ์ 
๖. เพียรถูกต้อง คือ เพียรในการละบาปเก่า ระวังบาปใหม่ที่จะเข้ามา เพียรสร้างกุศล และรักษากุศลที่สร้างไว้ไม่ให้เสื่อม
๗. สติถูกต้อง คือ การระลึกเป็นภายในอยู่เนืองๆ คือ ระลึกไปตามฐานทั้ง ๔ คือ มหาสติปัฏฐาน ๔
๘. สมาธิถูกต้อง คือ เมื่อจิตสงบ จิตจึงตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ฌาน,ญาณจึงเกิด

มรรคมีองค์แปด ทั้งแปดส่วนมีความต่อเนื่องและเอื้อกันอยู่อย่างแยกไม่ออก ถ้าเรามีความเห็นชอบหรือมีความเข้าใจถูกต้องเป็นเบื้องต้น ซึ่งเป็นตัวปัญญา ความดำริชอบ วาจาชอบ การกระทำชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกรู้ชอบ การดำรงใจมั่นชอบก็จะตามมาทุกส่วน ปัญหามีอยู่ว่าเริ่มต้นตัวปัญญาไม่มี ทำให้เราเห็นชอบและดำริชอบไม่ได้ จะทำอย่างไร ไม่ใช่มานั่งคิดเอาเองว่าฉันต้องเห็นชอบนะ ต้องดำริชอบนะ คิดยังไงก็ทำไม่ได้ เพราะมันไม่มี ขบวนการที่จะทำให้เกิดปัญญาจึงเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากศีลก่อนก็ได้ สมาธิก่อนก็ได้ ปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งทำให้ปัญญาไม่เกิด เพราะขาดสติ การเจริญสติ จึงเป็นแนวทางหนึ่งของพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดปัญญา สติจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีสมาธิก่อน อุบายวิธีเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ในพระพุทธศาสนาจึงมีอยู่มากมาย แต่ก็รวมอยู่ในการปฏิบัติกรรมฐาน

ปฏิบัติอย่างไรจึงจะบรรลุโสดาบัน

ปฏิบัติธรรมดา มีความตั้งใจที่จะเป็น แล้วก็ปฏิบัติตาม มรรคมีองค์ 8 ค่อยๆ อบรมมรรคมีองค์ 8 หรือย่อยเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไปเรื่อยๆ ให้สม่ำเสมอ ไม่ย่อท้อ ไม่หันหลังให้ มุ่งหน้าเข้าหาธรรม

สมาธินั้นก็ทำสมาธิตามธรรมชาติได้ ไม่ต้องเป็นพิธีรีตอง คือท่านอยู่อย่างธรรมดาทำงานทำการอะไรไป สมาธิที่ดีที่สุด คือสมาธิตามธรรมชาติ

สมัยก่อนเขาสำเร็จโสดาบัน อรหันต์ ด้วยสมาธิธรรมชาติคือทำใจให้สงบอยู่ตามปรกติ มันก็พอจะใช้ปัญญาได้ในการพิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใช้ปัญญาได้ว่า อะไรมันเกิดจากอะไร ปัญญาจะค่อยๆ บรรลุธรรมได้เองโดยธรรมชาติอย่างพระสมัยก่อนก็ออกบิณฑบาตอย่างธรรมดา ทำกิจอย่างธรรมดา อยู่อย่างธรรมดา ไม่ต้องไปเข้มงวดกับชีวิตมาก แต่ก็ไม่ปล่อยให้หย่อนยานเกินไป สบายๆ จิตใจก็พัวพันอยู่กับธรรม ไม่ลืมธรรม ไม่หันหลังให้ธรรม บรรลุได้ สำคัญตรงที่ตั้งใจ

ถ้าถามขั้นตอนการปฏิบัติก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 ใช้ชีวิตอย่างมีศีลธรรม ชีวิตที่เรียบง่าย เป็นอยู่อย่างชาวพุทธ นั่นแหละคือทางแห่งการบรรลุธรรม อย่าเขวนะครับ tune ความเห็นให้ตรง ทำทิฐิให้ตรง การบรรลุธรรมนั้น ถ้าตั้งความเห็นให้ตรง วางให้ถูก ไม่ยาก เหมือนเราเอาไม้่ลงน้ำ พอมันลงกระแสน้ำแล้ว มีแต่จะไหลไปอย่างเดียว แล้วในที่สุดก็จะไปถึงปลายทางเอง ไม่มีปัญหาเลย เอารถไฟเข้ารางให้ได้ แล้วมันไปเองไปตามราง อย่าให้ออกนอกทางเท่านั้น กระต้วมกระเตี้ยมไปบ้างก็ไม่เป็นไร แต่สำคัญอย่าเขวสิครับ เดี๋ยวเอาอันนั้น เดี๋ยวเอาอันนี้ไม่มั่นคงในพระธรรม จริงๆ อันนี้คืออุปสรรคที่พระพุทธเจ้าท่านว่า ขอนไม้อันนั้นไปติดฝั่งเสียบ้าง มีคนยกขึ้นเสียบ้าง ผุเสียบ้าง แล้วมันก็ไปไม่ถึงปลายทาง แต่ถ้าตั้งไว้ให้ตรงแล้วดำเนินชีวิตตามนั้น เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อการกระทำ เชื่อเหตุผล เชื่อสติปัญญา ไม่ต้องเชื่ออย่างอื่น จิตใจเราก็มั่นคงแน่วแน่ต่อพุทธธรรม นี่คือสาระสำคัญ

วศิน อินทสระ

ประเพณีจุลกฐิน


จุลกฐิน เป็นคำเรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องเร่งรีบทำให้เสร็จภายในวันเดียว เริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายทอเป็นผืนผ้า เย็บ ย้อม ตากแห้งแล้วนำไปทอดเป็นผ้ากฐิน พระสงฆ์รับแล้วก็รีบกรานกฐินในวันนั้นด้วย ทำดังนี้จึงเป็นจุลกฐิน

ประเพณีจุลกฐิน เริ่มขั้นตอนด้วยพิธีการเก็บฝ้ายพิธีที่ได้ผสมผสานการแสดงแบบล้านนาได้อย่างสวยงาม จากนั้นก็ต้องอาศัยความสามาคคีของผู้ร่วมในพิธีกับขั้นตอนการรีดฝ้าย การดีดฝ้ายให้ฟูเพื่อนำมาม้วนให้เป็นหลอดแล้วปั่นเป็นเส้นด้าย นำมาขึ้นทอเป็นผืนผ้าและลงย้อมเป็นขั้นตอนสุดท้ายให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง

เราสามารถฝืนโชคชะตาได้หรือไม่

คนเราสามารถฝืนโชคชะตาได้หรือไม่

ไอ้โชคชะตาที่เราฝืนนี้ หมายว่าโชคชะตาที่เราได้ไปรับทราบมาจากหมอดู ซึค่งจริงๆ แล้วถ้าเรามีกำลังใจเข้มแข็งพอโชคชะตาประเภทนี้มันเป็นเรื่องหลีกได้ หนีได้ โชคชะตาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หนีไม่ได้มันก็มีอยู่....
พระเทพสุวรรณโมลี

กระแสน้ำกับเถาวัลย์

พุทธวจนะแห่งพุทธองค์

กระแสน้ำคือตัณหา
ไหลไปทุกหนทุกแห่ง

เถาวัลย์คือกิเลสก็ขึ้นรกไปทั่ว
เมื่อเห็นเถาวัลย์นั้นงอกงามแล้ว
พวกเธอจงตัดรากมันด้วยมีดคือปัญญา

อย่ามัวแต่รอ

การที่ท่านทั้งหลายยังทำงานอยู่ ยังมีภาระหน้าที่ต่างๆ อยู่แต่สนใจเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรค ธรรมะต่างๆ ถือว่าเป็นการได้กำไรของชีวิตเป็นอย่างมาก

เพราะว่าถ้ามัวรอให้เสร็จกิจต่างๆ ก่อนแล้วค่อยไปทำ บางทีอาจจะหมดไปทั้งชีวิตก็ได้ เพราะไม่มีโอกาสที่จะทำ แม้จนแก่เฒ่าก็ยังไม่หมดภาระ

ข้อบกพร่องที่ทำให้การเผยแพร่พุทธศาสนาไม่ค่อยได้ผล

สรุปสาเหตุหลัก ๆไว้ก่อน 3 ประการ
  1. มีความเข้าใจผิด ยึดเอาพิธีกรรมต่างๆ เป็นสาระของศาสนา
    โดยเห็นเป็นจริงเป็นจัง เป็นเรื่องสำคัญและดึงคนไปได้มาก ในทางที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำเอาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ค่อยมี เมื่อมีการเข้าใจผิดแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดต่อๆ กันไป
  2. ชาวพุทธฝ่ายฆราวาสส่วนมากยกเรื่องศาสนาให้เป็นเรื่องของพระสงฆ์และคนแก่
    พวกตนต้องทำมาหากินจึงไม่มีเวลาสำหรับศาสนา ฆราวาสเป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท 4 จะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้อย่างไร ที่สำคัญพุทธศาสนาเป็นประโยชน์แก่ตัวฆราวาสเองถ้าเผื่อเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ
  3. คำสอนของพระสงฆ์ไม่เป็นเอกภาพ
    ทำให้พุทธบริษัทสับสนว่าอะไรคือสิ่งถูก คนนี้ดึงไปทางตัดกรรม ทำให้ไม่ก้าวหน้า คนกลางก็ลำบากไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี ตนเองก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ต้องคอยเชื่อพระสงฆ์ ในขณะที่พระบางรูปสอนตรงแนวตามหลักของพุทธศาสนา แต่มีหลายพวกพยายามดึงพุทธบริษัท พุทธบริษัทเห็นว่าทางนี้ง่ายดี ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติเพียงแต่ทำอย่างนั้นอย่างนี้จะได้เอง อาทิเรื่องการตัดกรรม มีเวรมีกรรมก็พากันไปตัดกรรม แต่คนก็เชื่อ เพราะสบายใจ
วศิน อินทสระ

ย้อนรอยกฐินครั้งพุทธการ

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพงสนทนาธรรม กับ พิธีกร ไตรภพ ลิมปพัทธ์ และ ศันสนีย์ นาคพงศ์

ตั้งแต่โบราณกาลถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่ชาวพุทธจะได้ทำบุญ การทำบุญในสมันก่อน สมัยพุทธกาล  บุญกฐิน

กฐินมีความสำคัญอย่างไร เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร และเป็นพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าเพื่อให้ของแก่พระภิกษุซึ่งมีจีวรคร่ำคร่า เก่า หรือชำรุดแล้วและในการทำปีหนึ่งทำได้หนเดียวเท่านั้น ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 แต่ใน 1 เดือนที่ว่าในการทอดกฐินที่วัดใดวัดหนึ่งก็ตาม วัดนั้นใน 1 ปีทำได้หนเดียว ต้องเสร็จภายใน 1 วัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ขึ้นอีก 1 ครั้ง เป็นพระวินัยที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

สร้างบุญ สร้างกุศลอย่างไรให้ได้บุญเทียบเท่ากับคนที่มีเงินมาก

หลวงปู่ พุทธะอิสระ
คนที่ร่ำรวยมีเงินมาก มีโอกาสที่จะทำบุญ บุญกุศลได้มาก แต่คนยากจน หรือว่าคนที่มีเงินน้อยกว่า ทำบุญ ทำกุศลได้ยาก ได้ลำบากได้น้อยกว่าคนที่มีเงินมาก

ที่จริงเป็นเรื่องที่ไม่จริงเพราะว่าบุญกุศล  คำว่ากุศลแปลว่าความฉลาด บุญแปลว่าความอิ่ม เต็ม และความเสียสละความแบ่งปัน มันไม่ได้นำมาซึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีเงินมาก บุญกุศลอยู่กับจิตวิญญาณ พฤติกรรมที่เราสั่งสมอบรมมาตลอดชั่วกัลป์ ชั่วกัลป์ ข้ามภพ ข้ามชาติ แม้ปัจจุบันรวมทั้งการสั่งสมอบรมเจริญปัญญา

หลักสูตรครูสมาธิ | สถาบันพลังจิตตานุภาพ


หลักสูตร ครูสมาธิ | สถาบันพลังจิตตานุภาพ จะสอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด เนื่องจากว่าต้องการบุคคลทั่วไปมาทำสมาธิไม่มุ่งเน้นเพื่อไปนิพพาน อย่างไรก็ไปได้อยู่แล้ว แต่ว่าต้องใช้เวลาหน่อน อันดับแรกนี้ต้องเรียนรู้ คือการทำสมาธิ เปรียบเทียบกับการเรียนหนังสือทุกวันก็เป็นการสะสมความรู้ พอมีความรู้แล้วก็จะรู้ทางผิด ทางถูก พลังจิตก็เหมือนกันเมื่อสะสมทำสมาธิประจำ การเดินจงกรมต้องทำให้จิตนิ่ง จิตจึงมีพลัง เมื่อมีพลังจิตสะสมไว้มากก็จะเป็นเครื่องเตือน หรือว่ามีสติ พอมีสติก็จะรู้ว่าสิ่งถูกสิ่งผิด นั่นก็คือนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

สถาบันพลังจิตานุภาพ ก่อตั้งโดยพระเดชพระคุณพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) มีจุดประสงค์ในการเผยแผ่สมาธิ หลักสูตรครูสมาธิเป็นหลักสูตรที่สอนสมาธิให้กับประชาชนเพื่อสามารถที่จะเป็นครูสอนสมาธิให้แก่ตนเอง และผู้อื่นได้ ตามหลักการของพระเดชพระคุณพระธธรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิ ริยังค์ สิรินฺธโร) ซึ่งพลังจิตนี้เองจะช่วยให้สติของเราบริบูรณ์ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

samathi.com

สนทนาธรรมกับอาจารย์ สุจิตรา อ่อนค้อม

ฟังเรื่องราวของ รศ.ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม

สนทนาธรรมกับอาจารย์ สุจิตรา อ่อนค้อม ในการปฏิบัติธรรมของท่าน จุดมุ่งหมายของท่านคือโสดาบัน ซึ่งวิธีการของท่าน ท่านได้ทำอย่างไรบ้าง...

อาหารกับการปฏิบัติธรรม

อาหารก็มีความสำคัญต่อสุขภาพกาย ถ้าอาหารที่เราทานไม่เป็นสุขภาพกายก็จะแย่ เนื่องจากว่าคาณ์โบไฮเดรตบ้าง โปรตีนบ้าง ไขมันบ้าง เกลือแร่บ้าง ถ้าขากก็ไม่ดี ถ้ามากไปก็ไม่ดีอีก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า สัปปายะ คือความสะดวก สบายทำให้พอเหมาะพอดี

การที่เรารับประทานอาหารทุกวันๆ ความอิ่มก็คือความพอดีของแต่ละบุคคล และอาหารอะไรที่ถูกกับธาตุของเราก็ควรจำไว้ ศึกษาไว้ อาหารทานเข้าไปแล้วปวดท้อง ทำให้สุขภาพไม่ดีอย่างนี้ เราก็ควรลด นั่นก็คืออาหารประเภทนั้นไม่ถูกกับธาตุของเรา และพิจารณาการทานอาหารอย่างพอเหมาะพอดีได้ เมื่อสุขภาพของเราดี การปฏิบัติธรรมมีความสัมพันธ์กับอาหาร ถ้าอาหารน้อย ไม่เพียงพอร่างกายต้องการอาหาร แต่เรารับประทานอาหารไม่เพียงพอการปฏิบัติธรรมก็จะเกิดการกังวล ร่างกายขาดอาหารจะทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า
พระครูปลัดมงคลวัฒน์

ผู้ชายบวชพระได้บุญ ผู้หญิงต้องทำอย่างไร

ในสมัยครั้งพระพุทธกาล ก็มีทั้งพระภิกษุ และภิกษุณี ความสำคัญที่สุดคือตอนบวชเข้ามาบุญจะเกิดไม่ใช่โกนหัวแล้วได้บุญ หรือห่มผ้าเหลืองแล้วได้บุญ ไม่ใช่โกนหัวแล้วห่มผ้าขาวแล้วได้บุญ ไม่ใช่อยู่ตรงนั้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อไรที่เราคิดดี บุญจะเกิดทันที
เมื่อไรที่เราพูดดี บุญจะเกิดทันที
เมื่อไรที่เราทำดี บุญจะเกิดทันที

ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ถ้าทำความดีแล้วบุญก็จะเกิดเหมือนกัน
พระอาจารประสงค์ ปริปณโณ