ฆราวาสที่สนใจแต่เรื่องวิบากผลแห่งบุญ เช่นกามสุขเป็นต้น ในความเป็นฆราวาสนี้ก็ดี หรือว่าบุญที่ยิ่งไปกว่านั้นก็ดี ไม่สนใจในเรื่องการดับเสียซึ่งความยึดมั่นถือมั่นนั้น นับว่ายังไม่ได้รับสิ่งที่ฆราวาสควรจะได้รับ
อนาถปีณฑิกคหบดี เพิ่งมารูสึกในเรื่องนี้อย่างจริงจังในบั้นปลาย ในตอนปลาย คือเรื่องมีว่า เมื่อเจ็บหนักจวนจะสิ้นชีวิตอยู่แล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัสใช้พระอานนท์และพระสารีบุตร ให้ไปเยี่ยมไข้ของอนาถปิณฑิกดคหบดี ท่านก็เลยให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคหบดีที่เจ็บหนักนั้นเป็นในความว่า “ดูก่อนคหบดี ในเรื่องการเจ็บไข้นี้ ท่านพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งจักษุ เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็จักไม่มีวิญญาณอันอาศัยจักษุ; ฯลฯ จักไม่ยึดมั่นซึ่งรูป ฯลฯ จักไม่ยึดมั่นถือมั่นนซึ่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ ซึ่งจักขุสัมผัส ฯลชฯ ซึ่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ (อย่างนี้เรื่อยไปจนครบทั้ง 6 อายตนะ) จักไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งปฐวีธาตุคือธาตุดิน ฯลฯ จักไม่ยึดมั่นซึ่งรูปขันธ์ ฯลฯ จักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ ไม่ยึดมั่นโลกนี้ ไม่ยึดมั่นโลกอื่น ฯลฯ อารมณ์ใด ๆ ที่เราเห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว แสวงหาแล้ว เชื่อแล้วด้วยใจ เราจักไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งอารมณ์นั้น ๆ แล้วิญญาณนั้น ชนิดนั้น ๆ อันอาศัยอารมณ์นั้น ๆ ก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้” นี่พระเถระได้เตือนสติอนาถปิณฑิกคหบดี ในวาระสุดท้ายด้วยเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น สูงสุดถึงอย่างนี้
ครั้นพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถปิณฑิกคหบดี ได้ร้องไห้แล้วมีน้ำตามนองหน้าแล้ว ได้กล่าวแก่พระอานนท์ว่า “ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้ามิได้อาศัยชีวิตดอก มิได้มีใจจดจ่อในชีวิตดอก แต่ว่าพระศาสดาเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าเข้าไปนั่งใกล้แล้ว ตลอดเวลานาน ภิกษุทั้งหลายที่เป็นที่ชอบพอกัน ก็มีเป็นอันมาก แต่ว่าธรรมกถามอย่างชนิดนี้ ข้าพเจ้าไม่เคยฟังเลย” และได้กล่าวต่อไปว่า “ถ้าอย่างนั้นขอธรรมกถาอย่างชนิดนี้ จงเป็นที่แจ่มแจ้งแม้แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวทังหลายเถิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กุลบุตรผู้มีชาติแห่งธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อย ก็มีอยู่ในโลก เมื่อไม่ได้ฟังธรมะนี้แล้ วจะเสื่อมจากประโยชน์ เพราะว่าผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ จักมี” แล้วอนาถปิณฑกคหบดี ก็ตาย นี้เป็นเรื่องของฆราวาสแท้ ๆ
ขอให้ลองคิดดูว่า คหบดีผู้นี้ร้องไห้เสียใจถึงที่สุด เพราะว่าเพิ่งจะมาได้ฟังเดี๋ยวนี้ ใกล้จะตายอยู่รอมร่อแล้ว ทำไมไม่ได้ฟังมาก่อนหน้านี้ ก็จะได้มีเวลาเข้าใจธรรมะนี้ ได้รับผลสูงสุดจากธรรมะนี้ เป็นเวลายาวนาน พระอานนท์ได้อธิบายข้อนี้ว่า เป็นของลึก ไม่ควรนำมาแสดงแก่ฆราวาส; เรื่องมันก็ไขว้เขวกันหมด
อนาถปิณฑิกคหบดีตัดพ้อว่า พระเถระที่คุ้นเคยกันก็มีเป็นอันมาก ทำไมไม่พูดเรื่องนี้ เข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้าก็นานนักหนามากแล้ว ทำไมไม่ได้ยินเรื่องนี้? แต่สูตรที่แล้วมาเมื่อตะกี้นี้ แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตักเตือนคหบดีว่าอย่าพอใจแต่เพียงว่า ได้บำรุงพระภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ฯลฯ ให้พยายามเข้าถึงปวิเวกปีติ ตามสมควรแก่เวลาอยู่เสมอ นี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าได้เคยทรงตักเตือนในข้อนี้
แต่เรื่องปวิเวกปีติ นั้น มันคงจะยากเกิดไปสำหรับอนาถปิณฑกคหบดีที่จะเข้าใจคำว่า จะไม่มีทุกข์โทมนัส อันเกิดจากกุศลทั้งหลาย; คงจะเข้าใจว่า ขึ้นเชื่อว่ากุศลแล้ว ก็จะไม่มีทุกข์โทมนัส; นั้นแหละเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งของ อิทัปปัจจยตา
กุศลหรืออกุศลก็ตามใจ สุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตามใจ ถ้าใครมีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสล่วงหน้าว่า ให้ไปสนใจปวิเวกปีติกันเสียบ้าง ข้อนี้อนาถปิณฑกคหบดีเสียใจว่าขาดทุน เป็นเวลานานไม่ได้ยินได้ฟังเรื่องนี้ทั้งที่นั่นใกล้พระพุทธเจ้า พระเถระที่ชอบพอกันก็มีเป็นอันมากทำไมไม่พูดเรื่องนี้? นี้ฆราวาสทั้งหลายลองคิดดูว่า เรากำลังจะซ้ำรอยกับเรื่องนี้บ้างหรืออย่างไร?
พุทธทาสภิกขุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น