สังโยชน์ 10 |
- สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
- วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
- สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
- กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
- พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
- รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
- อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ
- มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
- อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
- อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
สังโยชน์หรือสัญโยชน์ 10 เป็นความยึดมั่นถือมั่นที่นักธรรมจะต้องละให้หมดสิ้น เป็นข้อกำหนดที่นักธรรมพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า การละกิเลสของตนไปถึงขั้นไหนแล้ว
การละในสิ่งทั้งสิบข้อนี้ ท่านเรียก"สังโยชน์สิบ"เป็นข้อตรวจทานจิตของนักธรรมเอง เมื่อละได้หมด จิตก็เบิกบานอยู่ทุกขณะเวลา เป็นผู้รู้แจ้งในโลกทั้งปวง ไม่ติดกับของโลก ไม่หลงโลกท่านกล่าวว่าเป็นผู้ดับทุกข์ได้ในที่สุด
อ้างอิง พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น