อุปมาเบญจขันธ์

รูปขันธ์         อุปมาเหมือน  ภาชนํ     =  ภาชนะ
เวทนาขันธ์    อุปมาเหมือน  โภชนํ     =  ข้าว
สัญญาขันธ์    อุปมาเหมือน  พยญฺชนํ  =  กับข้าว
สังขารขันธ์    อุปมาเหมือน  โภชโก    =  ผู้ปรุง
วิญญาณขันธ์ อุปมาเหมือน   ภุญฺชิตา  =  ผู้บริโภค

ธรรมดาภาชนะ คือวัตถุสิ่งของสำหรับรองรับข้าว และกับแกง ซึ่งคนเราใช้กันอยู่เป็นประจำ ตามที่เห็นกันอยู่กับตาทุกวันนี้นั้น จะเป็นของดีเป็นที่ถุกใจ หรือไม่ดีก็ตามที ย่อมจะมีความเหมือนๆ กันอยู่อย่างหนึ่ง คือจักต้องแตกสายฉิบหายไปอย่างเที่ยงแท้แน่นอนในวันหนึ่งข้างหน้า คนเราจะอาศัยใช้สำหรับใส่ข้าว แะแกงกับข้าว ก็แต่เฉพาะในขณะที่มันยังดีอยู่ ยังไม่แตกสลายเท่านั้น "รูปขันธ์" นี่ก็เหมือนกัน ย่อมจักต้องแตกสลายไปอย่างแน่นอนเด็ดขาด ที่จักยั่งยืนมั่นคงตลอดไปเป็นอันไม่มี ย่อมเที่ยงที่จักต้องแตกพังไปเป้นะรรมดา

อนึ่งธรรมดาข้าวที่คนเราบริโภคเข้าไปทุกวันนี้ ย่อมต้องถูกคดใส่งในภาชนะ อันมีสภาวะที่จะต้องแตกสลายนั้น จึงจะไม่หกเรี่ยราดกระจัดกระจาย พูดง่ายๆ ว่าข้าวต้องอยู่ในภาชนะ คือในจานหม้อ ทีนี้ถ้าข้าวนั้นได้ผสมกับแกงที่อร่อย กับข้าวดีๆ ก็ย่อมทำให้ผู้ที่บริโภคเกิดความพอใจ ถ้าได้ผสมกับแกงที่ไม่ดี ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจ ถ้าได้ผสมกับแกงพอดีพอร้าย มันก็อย่างนั้นเอง คือรู้สึกเฉยๆ เป็นธรรมดา เวทนาขันธ์ ก็เหมือนกัน ที่เปรียบกับโภชนะคือข้าว ก็เพราะว่า ถ้าผสมเข้ากับสัญญาขันธ์ อันเปรียบเหมือนแกงกับ ถ้าสัญญาขันธ์นั้นดีเป็นที่พอใจ ก็ทำให้เวทนานั้นดีไปด้วย ซึ่งเรียกว่าสุขเวทนา ถ้าสัญญาขันธืนั้นไม่ดีไม่เป็นที่พอใจ ก็ทำให้เวทนานั้นไม่ดีไปด้วย ซึ่งเรียกว่า ทุกขเวทนา ถ้าสัญญาขันธ์นั้นพอดีพอร้าย ก็ทำให้เวทนานั้นดูประหนึ่งคล้ายกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นซึ่งเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา

อนึ่งธรรมดาว่าแกงหรือกับข้าว ย่อมจะเป็นสิ่งคอยส่งเสริมให้ข้าวมีรสชาติตามสมควรที่จะเป็นไปได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าข้าวที่เราบริโภคไปทุกวันนี้ จะมีรสชาติเป็นอย่างไรนั้น สิ่งสำคัญมักขึ้นอยู่กับแกงหรือกับ ถ้าได้แกงดี อาหารมื้อนั้นก็มีรสดีไปด้วย ถ้าได้แกงไม่ดี อาหารมื้อนั้นก็มีรสไม่เข้าท่า ถ้าว่าได้แกงธรรมดา อาหารมื้อนั้นมันก็อย่างนั้นแหละ คือให้รู้สุกเฉยๆ เป็นธรรมดา สัญญาขันธ์ ก็เหมือนกัน ที่เปรียบกับพยัญชนะคือแกงหรือกับข้าว ก็เพราะเป็นสิ่งที่คอยส่งเสริมเวทนาขันธ์ให้มีอาการเป็นไปต่างๆ ดุจแกงหรือกับข้าวคอยส่งเสริมข้าวให้มีรสแตกต่างกันไปตามที่ก่าวมานั่นเอง

อนึ่งธรรมดาว่า ผู้ที่จะบริโภคอาหารนั้น เมื่อสำรับกับข้าวถูกเขายกมาประเคนตั้งไว้ข้างหน้าพร้อมอยู่แล้ว แะตนก็ตั้งท่านั่งขัดสมาธิเตรียมพร้อมที่จะบริโภคอยู่ในบัดเดี๋ยวใจนี้แล้ว ทีนี้จะทำอย่างไรต่อไปเล่า? ก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ปรุง จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องให้มีอันเป็นตักข้าวนิดแกงหน่อยมาจัดแจงผสมปรุงแต่งรสเอาตามความพอใจของตนก่อน อาการเหล่านี้ไม่ต้องมีใครสอน เป็นไปโดยสัญชาติญาณให้มีอาการปรุงแต่งชุลมุนไปทุกคำข้าวทีเดียวเป็นธรรมดาไม่มีใครเซ่อซ่า มุ่งหน้าจะบริโภคแต่ข้าวอย่างเดียว หรือแกงแต่เพียงอย่างเดียวได้ สังขารขันธ์ ก็ทำหน้าที่ปรุงแต่งจัดแจงขันธ์ทั้งหลายให้เป็นไปตามที่หมายกำหนดเสียก่อน ดุจกิริยาของผู้บริโภคอาหารจัดการปรุงแต่งข้าวกับแกงผสมกัน เพื่อให้ข้าวเกิดรสจะได้บริโภคตามต้องการฉะนั้น

อนึ่งธรรมดาว่าผู้บริโภคอาหาร เมื่อข้าวและแกงกับได้ถูกปรุงแต่งผสมกันตามความพอใจทั้งกำลังอยู่ในปากแล้ว ก็ย่อมไม่แคล้วที่จะเคี้ยวกินเข้าไป เพื่อให้รู้รสว่าดีหรือชั่วเท่านั้นเอง แม้ วิญญาณขันธ์ อันได้แก่จิต ก็ทำหน้าที่เป็นผู้รู้อารมณ์ทุกสิ่งทุกประการ เปรียบเหมือนผู้บริโภคอาหารแล้ว รู้รสอาหารที่บริโภคเข้าไปฉะนั้น

พระพรหมโมลี (วิลาศ ฌาณวโร ป.ธ.9)

อ่านเพิ่มเติม  ไตรลักษณ์ กับ ขันธ์ 5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น