การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคสมัยพุทธกาล

วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคสมัยพุทธกาล จากการศึกษาพบว่าพระพุทธเจ้าทรงมีทั้งหลักการ และหลักปฏิบัติแตกต่างกันไปตามกาลเทศะและบุคคลที่จะทรงสั่งสอน ดังนั้นการพิจารณาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์จึงเริ่มตั้งแต่ คุณสมบัติของผู้สอน ลีลาการสอนและหลักการสอน

คุณสมบัติของผู้สอนหรือนักเผยแผ่ พุทธวิธีในการสอนนั้นต้องเริ่มต้นจากปรัชญาขั้นพื้นฐานอันได้แก่ กัลยาณมิตรและมีสติปัญญาไหวพริบที่ชาญฉลาดเป็นเบื้องต้น จากนั้นต้องประกอบด้วยหลักของนักเผยแผ่กับผู้ฟังหรือผู้สอนกับผู้เรียนที่มีความสัมพันธ์กันในฐานะเป็นกัลยาณมิตรเป็นอันดับต่อไป เพราะในทาง
พระพุทธศาสนาถือว่า ผู้เผยแผ่กับผู้ฟังหรือผู้สอนกับผู้เรียนนั้นต้องประสานสัมพันธ์กัน มีความกรุณาต่อกันโดยเฉพาะในด้านการอบรมสั่งสอนนั้น ย่อมเป็นส่วนประกอบที่สาคัญให้เกิดคุณลักษณะของผู้สอนซึ่งเรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ดังนั้น พระธรรมกถึกหรือนักเผยแผ่พุทธธรรมที่ดีจึงมีลักษณะคุณสมบัติซึ่งเป็นองค์ของกัลยาณมิตร ๗ ประการ ดังนี้
๑. ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในฐานเป็นที่สบายและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม
๒. ครุ เป็นที่เคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย
๓. ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทาให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
๔. วตฺตา จ เป็นนักพูด รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คาแนะนาว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕. วจนกฺขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคา คือพร้อมที่จะรับฟังคาปรึกษา ซักถาม คาเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
๖. คมฺภีรญฺจ กถ กตฺตา เป็นผู้พูดด้วยถ้อยคาลึกซึ้งได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนาในอฐานะ คือไม่แนะนาในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย ๔

ลีลาการสอน การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมมีกถา หรือการสนทนาทั่วไปซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดาเนินไปอย่างสาเร็จผลดี โดยมีองค์ประกอบที่เป็นคุณลักษณะที่เรียกได้ว่า เป็นลีลาในการสอน มี ๔ ประการ คือ
๑. สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด คือจะสอนอะไร ก็ชี้แจงจาแนกแยกแยะอธิบาย และแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นจริงเห็นจัง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา
๒. สมาทปนา ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ คือสิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดทา ก็แนะนาหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า มองเห็นความสาคัญที่จะต้องฝึกฝนบาเพ็ญจนใจยอมรับ อยากลงมือทา หรือนาไปปฏิบัติ
๓. สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า คือปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะ มีกาลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทาให้สาเร็จจงได้ สู้งาน ไม่หวั่นระย่อ ไม่กลัวเหนื่อย ไม่กลัวยาก
๔. สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คือบารุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน โดยชี้ให้เห็นผลดี หรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับและทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสาเร็จยิ่งขึ้นไป ทาให้ผู้ฟังมีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ ๕

หลักการสอน
พระพุทธองค์ได้ตรัสองค์แห่งธรรมกถึก ๕ ประการ คือ
๑. อนุปุพฺพิกถ กล่าวความไปตามลาดับ คือแสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวิชาตามลาดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลาดับ
๒. ปริยายทสฺสาวี ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่าง ๆ ตามแนวเหตุผล
๓. อนุทยต ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือสอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา
๔. น อามิสนฺตโร ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือสอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือสอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น ๖หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อทรงพระดาริที่จะประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์จึงทรงระลึกถึงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕จึงเสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระองค์ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกในโลกคือพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จนท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก และได้ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุพระองค์ทรงประทานอนุญาตให้การอุปสมบท ถือว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาต่อมาพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์หมดทุกรูป และได้ทรงแสดงธรรมแก่สกุลบุตรพร้อมเพื่อนอีก ๕๔ คน จนบรรลุอรหัตผลในกาลต่อมา จึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในขณะนั้น๖๑รูปรวมทั้งพระพุทธองค์ด้วย ดังนั้นพระองค์ทรงส่งพระภิกษุสงฆ์ทั้ง๖๐รูปออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้แยกกันไปในทิศทางต่างๆ ให้ไปรูปเดียว ส่วนพระองค์เองเลือกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ตาบลอุรุเวลาเสนานิคม

การประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเชิงรุกของพระพุทธเจ้าได้เริ่มขึ้นแล้ว ผู้วิจัยจะได้กล่าวถึงรูปแบบวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล โดยสรุปเป็นภาพรวมได้ ๑๐ วิธีคือ
๑. วิธีการเข้าหาผู้นาทางศาสนา การเมืองและทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ออกประกาศพระพุทธศาสนาโดยเริ่มต้นที่ผู้นาศาสนาด้วยการเสด็จไปโปรดพราหมณ์ปัญจวัคคีย์ผู้คงแก่เรียนมีจิตใจที่มุ่งมั่นเต็มเปี่ยมด้วยความปรารถนาว่าจักได้บรรลุธรรมตามพระพุทธองค์จนกระทั่งประสบผลสาเร็จ หลังจากนั้นเสด็จไปโปรดชฏิล๓ พี่น้องซึ่งมีบริวาร ๑,๐๐๐ คน โดยชฎิล ๓ พี่น้องนี้เป็นเจ้าลัทธิใหญ่ที่นิยมการบูชาไฟและเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวแคว้นมคธเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรและแสดงปาฏิหาริย์เพื่อให้ชฎิลกลุ่มนี้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนาจนประสบความสาเร็จได้บรรลุธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุทั้งหมด ๘ ต่อจากนั้นพระองค์เสด็จไปหาผู้นาทางการเมือง คือพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธและข้าทาสบริพารพระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพารพอเห็นว่าชฎิลสามพี่น้องที่ตนนับถือได้ประกาศตนเป็นสาวกของพระพุทธองค์แล้วก็คลายทิฐิมานะและน้อมใจฟังพระธรรมเทศนาโดยความเคารพ ในที่สุดก็ได้ดวงตาเห็นธรรมและหันมานับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันแด่พระสงฆ์โดยมีพระพุทธองค์ทรงเป็นประมุข ๙นอกจากนี้พระองค์ยังทรงแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนเหล่าผู้นาทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อสังคมและประเทศชาติด้วยพระองค์เอง ผู้นาทางเศรษฐกิจที่พระองค์เสด็จไปโปรดคือ ยสกุลบุตรพร้อมบิดามารดา ภรรยาและมิตรสหายรวม ๕๔ คน ๑๐วิธีการเผยแผ่ธรรมะโดยการเข้าหาหัวหน้าผู้เป็นผู้นาทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจเช่นนี้นับเป็นวิธีการที่มีความชาญฉลาดและแยบยลในตัวอย่างมาก เหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นกทั้งฝูง เพราะคนเหล่านี้ต่างมีบทบาทและอิทธิพลต่อสังคมอย่างยิ่งทั้งเป็นผู้ที่มีพวกพ้องและบริวารมาก เมื่อคนเหล่านี้นับถือศาสนาใด ผู้คนในสังคมนั้นก็มักจะหันมานับถือตามไปด้วย จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกของการเผยแผ่ธรรมะนั้นพระองค์ทรงใช้วิธีการนี้มาโดยตลอด ทาให้พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักมีประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธาเข้ามานับถืออย่างมากมายนับได้ว่าเป็นพระปรีชาสามารถของพระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหลายด้วย ผู้นาศาสนานั้นบางทีอาจจะมีความสาคัญหรือทรงอิทธิพลต่อจิตใจของประชาชนมากกว่านักปกครอง เพราะนักปกครองมักควบคุมประชาชนด้วยอาวุธหรือด้วยอานาจ ส่วนผู้นาทางศาสนานั้นควบคุมประชาชนด้วยธรรมะ ฉะนั้นประชาชนจึงมีความมั่นคงเลื่อมใสต่อพระและนักบวช นอกจากความเลื่อมใสศรัทธาแล้วยังช่วยอานวยประโยชน์ในด้านการทานุบารุงพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาอย่างดีด้วยการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ และสร้างวัดวาอารามต่างๆ
๒. วิธีการปฏิวัติหลักคาสอนและหลักความเชื่อบางประการของลัทธิศาสนาดั้งเดิม
พระพุทธเจ้าทรงปฏิวัติทางสังคมชนชั้นที่ชาวชมพูทวีปยึดถือมานาน เช่น ศาสนาพราหมณ์มีข้อบัญญัติทางสังคมหลายด้าน เช่น เรื่องวรรณะ ที่กาหนดให้แต่ละวรรณะมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีการกาหนดให้แต่ละวรรณะยึดถือและปฏิบัติอยู่ในวรรณะของตนเองมิให้สมาคมกับวรรณะอื่นๆ โดยเฉพาะวรรณะศูทรที่ไม่สามารถมีสิทธิ์ในสังคม กาหนดให้วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐสูงสุด อันถือได้ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของวรรณะนั้นๆ พระองค์ตรัสปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง และทรงสอนว่า“บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรมหรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม”๑๑หมายความว่า คนดี หรือชั่วมิใช่ชาติตระกูล แต่ขึ้นอยู่กับการกระทาของผู้นั้น หากทาดีก็เป็นคนดี และหากทาชั่วก็เป็นคนชั่วนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงปฏิเสธทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค คือการหมกมุ่นในกามสุข กับอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนเอง พระองค์ทรงเคยปฏิบัติเช่นนั้นมาก่อนแล้วทรงยืนยันว่าเป็นหนทางที่ผิดไม่ใช่หนทางที่จะนาสัตว์โลกไปสู่ทางบรรลุธรรมได้ ทรงแนะนาให้ดาเนินในทางสายกลางอันได้แก่มรรคมีองค์ ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางปฏิบัติที่ไม่เข้มงวดและไม่หละหลวมเกินไปทรงถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
๓. วิธีการปฏิรูปพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมและลัทธิต่างๆ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์จึงทาให้พระพุทธเจ้าต้องมีความเกี่ยวข้องกับถ้อยคาทางศาสนา ด้วยมีความมุ่งมั่นที่จะประกาศพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงอย่างรวดเร็ว จึงไม่ทรงหักล้างคาสอนหรือถ้อยคาของศาสนาอื่นอย่างทันที แต่พยายามให้กลมกลืนกันไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่รู้ตัวหรือบางทีก็ใช้วิธีการโอนอ่อนผ่อนตาม คาสอนใดถูกต้องดีงามพระองค์ก็ทรงรับรองว่าถูกต้องดีงามเป็นของสากลโดยธรรมชาติ คาสอนของศาสนาพราหมณ์มีอยู่อย่างไร พระองค์ไม่ทรงหักล้าง แต่จะทรงปฏิรูปใหม่นามาใช้ในทางพระพุทธศาสนาเช่น คาว่า พรหม ทางศาสนาพราหมณ์หมายถึง ผู้สร้างโลก แต่พระองค์ทรงเอามาใช้ในความหมายใหม่ หมายถึงมารดาบิดา๑๓ คาสอนใดที่มีความขัดแย้งกับพุทธศาสนาทรงชี้แจงแถลงให้เห็นว่าการปฏิบัติเช่นนั้นไม่ใช่แก่นสารพร้อมทั้งแนะนาแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องให้ เช่น การบูชายัญ ในคาสอนเดิม หมายถึงการฆ่าสัตว์บูชายัญแต่พระองค์ทรงสอนในความหมายใหม่ หมายถึงการบูชามารดาบิดา สมณพราหมณ์ เป็นต้น
๔.วิธีการเสนอหลักคาสอนที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
วิธีการนี้เป็นวิธีที่สืบเนื่องมาจากวิธีการดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น กล่าวคือ เมื่อทรงอธิบายชี้แจงถึงส่วนดีส่วนบกพร่องของศาสนาพราหมณ์แล้ว ได้เสนอหลักการใหม่ที่เป็นหลักคาสอนของพระพุทธศาสนาล้วนๆ ขึ้นแทนที่และเผยแผ่หลักคา สอนที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนเพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติแท้จริงของมนุษย์และสรรพสิ่ง หลักธรรมที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ คือความเป็นของไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ และความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ความไม่คงที่แน่นอนของสรรพสิ่งเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัยกันเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป และหลักอริยสัจ ๔ ถือได้ว่าเป็นหลักหัวใจสาคัญของพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมที่สาคัญครอบคลุมคาสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา กุศลธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนารวมอยู่ในอริยสัจทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงบรรลุธรรมก็ด้วยหลักธรรมข้อนี้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นและดับไปอย่างมีเหตุปัจจัย เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงนามาแสดงเพื่อโปรดสัตว์มากที่สุด
๕. วิธีการปฏิบัติเชิงรุก หรือเยี่ยมเยียนตามบ้าน เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ตลอดการเผยแผ่ธรรมะ ทรงแผ่ข่ายคือพระญาณของพระองค์เพื่อสารวจดูเวไนยสัตว์ที่มีอุปนิสัยแก่กล้าพอที่จะบรรลุธรรมแล้วเสด็จไปเทศนาโปรดถึงบ้าน อันเป็นพระกรณียกิจประจาวันของพระองค์อีกประการหนึ่งด้วยเช่นกัน ผู้ที่ได้รับการเทศนาโปรดเช่นนี้มักจะได้บรรลุธรรมอยู่เสมอ เรียกว่าพุทธกิจ ๕ ประการของพระพุทธเจ้า ได้แก่เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต เวลาสายทรงแสดงธรรม เวลาค่าประทานโอวาท กลางคืนตอบปัญหาเทวดา และเวลาจวนสว่างตรวจดูสรรพสัตว์ผู้ที่สมควรและยังไม่สมควรตรัสรู้
๖. วิธีการบริการชุมชน วิธีการนี้เป็นการเผยแผ่เชิงรุกซึ่งได้ผลมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมอยู่เนืองๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและความเข้าใจอันดีระหว่างชาวบ้านและพระสงฆ์ เช่นการเข้าไปสงเคราะห์ประชาชนในกูฏทันตสูตรพระองค์ได้ทรงเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านโดยวิธีแก้ปัญหาโดยการจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขในสังคม
๗. วิธีการใช้ปาฏิหาริย์ต่างๆ เป็นวิธีการเผยแผ่ที่ใช้ความสามารถพิเศษเข้ามาช่วยโดยมีจุดประสงค์เพื่อปราบปรามคนที่แสดงอาการกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับนับถือหรืออยากลองดีให้สิ้นพยศ การแสดงปาฏิหาริย์นี้ไม่นิยมใช้นักเพราะทรงเล็งเห็นว่าการแสดงฤทธิ์นั้นมีทั้งแง่ดีและไม่ดีในตัวเอง คือผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็ยิ่งยกย่องส่งเสริมมากขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่เลื่อมใสอาจจะดูหมิ่นว่าการแสดงปาฏิหาริย์แบบนี้ไม่เห็นแปลกอะไรเพราะคนที่เรียนวิชา “คันธาริ”๑๙ ก็ สามารถทาได้เช่นเดียวกัน และตรัสว่า “เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้ จึงอึดอัดระอาเกลียดการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์”๒๐ แต่วิธีการที่ทรงโปรดและใช้อยู่เสมอคือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์คือการสอนอย่างธรรมดา อธิบาย ชี้แจง โต้ตอบกันไปมาโดยไม่ต้องมีการใช้ฤทธิ์เดชเข้ามาช่วย เป็นวิธีที่ทาให้คนเข้าถึงสัจธรรมได้ตามพุทธประสงค์และมีความมั่นคงยืนยาวมาถึงปัจจุบัน
๘. วิธีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น
เป็นวิธีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเป็นการเผยแผ่ให้ง่ายมากขึ้นทาให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าผู้เผยแผ่เป็นเสมือนญาติของตนเองจึงเกิดความเต็มใจที่จะรับฟังพระธรรมเทศนาแต่พระพุทธเจ้าทรงห้ามยกพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต และทรงปรับอาบัติทุกกฎแก่พระภิกษุผู้แสดงพุทธพจน์เป็นภาษาสันสกฤต๒๒ทรงอนุญาตในการแสดงธรรมด้วยภาษาของตนเอง เพราะเป็นภาษาสามัญที่ประชาชนจานวนมากสามารถเข้าใจได้ เป็นการเปิดโอกาสให้มวลชนทุกระดับชั้นได้มีโอกาสเข้ามาเลื่อมใสศรัทธา พระพุทธศาสนาจึงแพร่หลายไปสู่มวลชนอย่างรวดเร็วทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับชั้นได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงกัน ตรงกันข้ามกับศาสนาพราหมณ์ที่จากัดสิทธิการศึกษาทั้งยังใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษาต้องห้ามสาหรับคนบางวรรณะ เช่นวรรณะศูทรในการสั่งสอนอีกด้วย
๙. วิธีการเผยแผ่ด้วยบุคลิกภาพ บุคลิกภาพที่ดีนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สา คัญประการหนึ่งของนักเผยแผ่นอกเหนือจากคุณสมบัติด้านคุณธรรม เพราะบุคลิกภาพที่๙. วิธีการเผยแผ่ด้วยบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพที่ดีนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สา คัญประการหนึ่งของนักเผยแผ่นอกเหนือจากคุณสมบัติด้านคุณธรรม เพราะบุคลิกภาพที่สง่างาม น่ามองน่าเลื่อมใสย่อมเป็นเหตุนามาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็นได้ พระพุทธองค์ทรงมีพระวรกายที่สง่างามประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ดังมีจังกีพราหมณ์ชมว่า “พระสมณโคดมมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะพบเห็นยากนัก”๒๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกจากมีความรู้ความสามารถในการเผยแผ่แล้ว คุณสมบัติของนักเผยแผ่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ เพราะนักเผยแผ่ที่ดีนั้นแม้จะไม่ออกปากพูดก็สามารถเผยแผ่พุทธธรรมได้ บุคลิกลักษณะที่ดีงามก็ยังความผ่องใสแห่งจิตใจให้เกิดศรัทธาแก่ผู้ที่พบเห็น
๑๐. วิธีการสนทนา การบรรยายและตอบปัญหา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ยกวิธีสอนของพระพุทธเจ้าไว้ มีหลายแบบหลายอย่างซึ่งผู้วิจัยจะยกมาเพียง ๓ หัวข้อ ที่น่าสังเกตหรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้
๑. แบบสากัจฉา หรือสนทนา วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ทรงใช้บ่อยไม่น้อยกว่าวิธีใดๆโดยเฉพาะในเมื่อผู้มาเฝ้าหรือทรงพบนั้น ยังไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักธรรม ในการสนทนาพระพุทธเจ้ามักจะทรงเป็นฝ่ายถามนาคู่สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด แม้ในหมู่พระสาวก พระองค์ก็ทรงใช้วิธีนี้ไม่น้อย และทรงส่งเสริมให้สาวกสนทนาธรรมกัน อย่างในมงคลสูตรว่า “กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตม การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันอุดม” ดังนี้
๒. แบบบรรยาย วิธีสอนแบบนี้ น่าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจาวันซึ่งมีประชาชน หรือพระสงฆ์จานวนมาก และส่วนมากเป็นผู้มีพื้นความรู้ความเข้าใจ กับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว มาฟังเพื่อหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม และหาความสงบสุขทางจิตใจ นับได้ว่าเป็นคนประเภทและระดับใกล้เคียงกันพอที่จะใช้วิธีบรรยายอันเป็นแบบกว้างๆ ได้ลักษณะพิเศษของพุทธวิธีสอนแบบนี้ที่พบในคัมภีร์บอกว่า ทุกคนที่ฟังพระองค์แสดงธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น แต่ละคนจะรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าตรัสอยู่กับตัวเองโดยเฉพาะ ซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
๓. แบบตอบปัญหา ผู้ที่มาถามปัญหานั้น นอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจในข้อธรรมต่างๆแล้ว โดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น บ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คาสอนทางฝ่ายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคาสอนในลัทธิของตน บ้างก็มาถามเพื่อลองภูมิ บ้างก็เตรียมมา ถามเพื่อข่มปราบให้จน หรือให้ได้รับความอับอาย ในการตอบพระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน ในสังคีติสูตร ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตาม ลักษณะวิธีตอบเป็น ๔ อย่างคือ
๑) เอกังสพยากรณีปัญหา ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่น ถามว่า “จักษุเป็นอนิจจังหรือ” พึงตอบตรงไปได้ทีเดียวว่า “ถูกแล้ว”
๒) ปฏิปุจฉาพยากรณีปัญหา ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างเช่นเขาถามว่า “โสตะก็เหมือนจักษุหรือ” พึงย้อนถามก่อนว่า “ที่ถามนั้นหมายถึงแง่ใด”ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นเครื่องมองเห็น” พึงตอบว่า “ไม่เหมือน” ถ้าเขาว่า “ในแง่เป็นอนิจจัง”จึงควรตอบรับว่า “เหมือน”
๓) วิภัชชพยากรณีปัญหา ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ เช่น เมื่อเขาถามว่า “สิ่งที่เป็นอนิจจัง ได้แก่ จักษุใช่ไหม ? ” พึงแยกความออกตอบว่า “ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น ถึงโสตะ ฆานะฯลฯ ก็เป็นอนิจจัง” หรือปัญหาว่า “พระตถาคตตรัสวาจาซึ่งไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นไหม ? ”
ก็ต้องแยกตอบตามหลักการตรัสวาจา ๖ หรือปัญหาว่าพระพุทธเจ้าทรงติเตียนตบะทั้งหมดจริงหรือ”ก็ต้องแยกตอบว่าชนิดใดติเตียน ชนิดใดไม่ติเตียน ดังนี้เป็นต้น
๔) ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนาผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไป ท่านยกตัวอย่าง เมื่อถามว่า “ชีวะอันใด สรีระก็อันนั้นหรือ ? ” อย่างนี้เป็นคาถามประเภทเกินความจริง ซึ่งถึงอธิบายอย่างไรผู้ถามก็ไม่อาจเข้าใจ เพราะไม่อยู่ในฐานะที่เขาจะเข้าใจได้ พิสูจน์ไม่ได้ ทั้งไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เขาด้วย

เรื่อง : ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น