ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เมื่อพุดถึงความเชื่อใดขึ้นมาในวงสนทนา หากมีคนลังเลหรือมีแนวโน้มไม่เห็นด้วย ประโยคกึ่งเตือนกึ่งปราม ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ มักถูกหยิบยกขึ้นมาใช้มากที่สุดในสังคมไทย ซึ่งหลายคนคงเคยตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วแนวคิดนี้เป็นบทสรุปที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเชื่อหรือไม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีวรรณ ผิวนิ่ม อาจารย์ประจำภาควิชามนุษย์วิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ทัศนะว่า ไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าไม่เชื่อควรจะลบหลู่ ศึกษาหาเหตุผลที่แท้จริงของความเชื่อนั้น ไม่ใช่เชื่อตามกันไปจนกลายเป็น กระแส ซึ่งท้ายที่สุดก็แทบไม่มีใครกล้าลุกขึ้นตั้งคำถามหาความจริง เมื่อนั้นเราจะตกอยู่ในสังคมอวิชชา (ความไม่รู้) และดูเหมือนว่าเราจะย้อนเวลากลับไปสู่ยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่ความรู้ความก้าวหน้าทางปัญญายังถูกจำกัดด้วยสิ่งเหนือธรรมชาติเป็นส่วนมากอีกครั้ง

ท่าน ว.วชิรเมธี ที่ครั้งหนึ่งในการบรรยายธรรมะ ได้ให้ทัศนะถึงประโยค ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ไว้ว่าเป็นเพียงคาถาขลังๆ แต่มีผลอย่างยิ่งต่อคนด้อยปัญญา คนที่ยังไม่รู้ว่าในโลกนี้นอกจากความเชื่อแล้วยังมีปัญญาอยู่ เมื่อมีคนเหล่านี้มากๆ สังคมจะไม่พัฒนาเราจึงควรเปลี่ยนแนวคิดเสียใหม่ว่า ไม่เชื่อต้องศึกษาให้รู้แจ้งจะดีกว่า ดังที่พระพุทธองค์ทรงให้หลักการเชื่อไว้ใน เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร) ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง

นั่นคือพระพุทธองค์ทรงให้ใช้ สติ และ ปัญญา พิจารณาอย่างถ้วนถี่ จนกระทั่งเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยใจของตนเองว่า สิ่งนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีคุณหรือมีโทษ แล้วจึงเลือกที่จะละหรือถือปฏิบัติตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น