ความต่างของ วิปัสสนากรรมฐาน และ สมถกรรมฐาน


สมถกรรมฐาน ได้แก่การฝึกจิตให้มีสมาธิ ความสงบ ความมีจิตใจแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
สมถกรรมฐานมีอารมณ์(สิ่งที่จิตใจเข้าไปยึดไว้) ๔๐ อย่างคือ
๑. กสิณ คือวัตถุอันจูงใจให้เกิดสมาธิ มี๑๐อย่าง
๒. อสุภะ คือสภาพที่ไม่งามในที่นี้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ มี ๑๐ อย่าง
๓. อนุสติ ได้แก่อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆมี ๑๐ อย่าง
๔. พรหมวิหาร คือธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี ๔ อย่าง
๕. อรูปฌาน คือฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ อย่าง
๖. อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูลมี ๑ อย่าง
๗. จตุธาตุววัตถาน คือการกำหนดธาตุสี่ ได้แก่พิจารณาแยกแยะร่างกายออกให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ
ที่จัดเข้าในธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

วิธีปฏิบัติถมถกรรมฐาน คือการนำเอาอารมณ์เพียง ๑ อย่างใน ๔๐ อย่างที่เหมาะสมกับจริตของตน
มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติเช่นการภาวนาว่า พุท-โธ เป็นต้น

วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่อุบายหรือวิธีการทำให้เกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ตรงต่อสภาวะของมัน
คือ เข้าใจตามความเป็นจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิดได้ถึงขั้นที่ต้องเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตเสียใหม่ ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งเกิดขึ้นเรื่อยๆในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่าญาณ(วิปัสสนาปัญญา) สุดท้ายญาณนี้เรียกว่าวิชชา(ความรู้)ภาวะที่จิตมีความรู้แจ้งเป็นภาวะที่สงบสุขผ่องใสและเป็นอิสระจากกิเลส ซึ่งเป็นภาวะตรงข้ามกับอวิชชา(ความไม่รู้) คือความหลงผิดไม่รู้แจ้ง อันเป็นจุดหมายปลายทางของวิปัสสนากรรมฐาน

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ การนำรูปและนาม มาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติคอยกำหนดตามอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน เช่น ขณะยืนอยู่ให้กำหนดรูปยืนทั้งหมด ไม่ใช่ส่วนขา ส่วนหัว ส่วนตัว หรือส่วนแขนยืนอยู่ให้ภาวนาว่า“ ยืนหนอๆ” จนกว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถใหม่อย่าเผลอให้สติออกนอกกาย ให้สติจับอยู่ที่รูปและนาม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้รูปและนามปรากฏชัด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร แม้ในอิริยาบถอื่นเช่นเดินนั่งนอนก็ต้องมีสติอยู่กับอิริยาบถนั้นๆหากเผลอ เมื่อไรก็เป็นอันสติหลุดจากปัจจุบันอารมณ์ทันที หากมีเวทนาไม่ว่าจะเป็นสุข เป็นทุกข์หรือเฉยๆ ก็ให้มีสติอยู่กับเวทนาชนิดนั้นๆและเวทนาเหล่านี้จะปรากฏชัดในเวลาที่มี สมาธิมากเท่านั้นหากแต่ว่าความรู้สึกวางเฉยจะไม่ปรากฏชัดเมื่อแรกเริ่ม ปฏิบัติ แต่จะปรากฏชัดหลังจากที่บรรลุถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่ห้าคือภังคญาณแล้วและมัก เกิดในอิริยาบถนั่ง (กรรมฐาน) เมื่อจิตมีราคะโทสะและโมหะเข้าครอบงำก็พึงกำหนดรู้ว่าจิตมีราคะมีโทสะและมี โมหะ ที่เราต้องมีสติกำหนดรู้ให้ทันตามความเป็นจริง เมื่อจิตมีสมาธิจะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถจับความรู้สึก (จิต) มีราคะนั้นได้และแล้วจิตมีราคะนั้นก็จะหายไปเอง หากจิตฟุ้งผู้ปฏิบัติควรกำหนดรู้อาการฟุ้งอย่างรวดเร็วและทันท่วงที ที่มีความฟุ้งเกิดขึ้นพร้อมกับกำหนดรู้จิตฟุ้งนั้นว่า“ ฟุ้งหนอๆ” การกำหนดนี้จะช่วยให้รู้ตัวมากขึ้นจนสามารถรู้เท่าทันอาการฟุ้งได้อย่างทัน ท่วงที
เมื่อ เข้าใจรูปและนามเป็นอย่างดีแล้วจะรู้สึกต่อรูปและนามว่าไม่มีเราไม่มีเขา ความรู้สึกเช่นนี้จัดว่าเป็นการกำจัดสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่มีอัตตาไม่มีตัว ตน ไม่มีตัวเราหรือไม่มีของเรา แล้วปัญญาจะเห็นประจักษ์ว่า“รูป” ที่เห็นและจิต(นาม)ที่ตามรู้ว่า“เห็น” นั้นเป็นคนละส่วนกันจากนั้นปัญญาจะรู้แจ้งการเกิด– ดับอย่างรวดเร็วของอาการเห็น (รูป) และจิต(นาม) ที่ตามรู้อาการเห็นปัญญาที่เกิดนี้ได้รู้แจ้งพระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
และความเป็นอนัตตาของสภาวธรรมเหล่านั้น.

- ทำไมไม่มีแค่วิปัสสนาอย่างเดียว เพราะเป็นเหตุให้บรรลุมรรคผล นิพพานโดยตรง
ขอตอบย่อๆดังนี้ เนื่องด้วยคนเรานั้นมี สติ ปัญญา และจริต ไม่เหมือนกัน บางคนเหมาะกับการทำจิตให้สงบก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ แต่บางคนสามารถเจริญวิปัสสนาได้เลย เพื่อให้เกิดสติ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เข้ามากระทบจะได้ไม่เผลอ พูดผิด ทำผิด เพราะขาดสติ

- จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังปฏิบัติสมถะ หรือวิปัสสนา ....ถ้ากำหนดด้วยอารมณ์ทั้ง ๔๐ อย่าง ข้อใดข้อหนึ่ง
จัดเป็นสมถะ ถ้าเอา รูป-นาม เป็นอารมณ์ในการกำหนดรู้ โดยเอาสติไปกำหนด ดูกาย เวทนา จิต และธรรม จนเกิดสติ และปัญญารู้เท่าทัน ตามความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายความยึดมั่น ถือมั่น จัดเป็นวิปัสสนา

www.meditation-watmahadhat.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น